ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกกระเทียมในพื้นที่ตำบลปู่ป้อม อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮองสอน
คำสำคัญ:
กระเทียม, ต้นทุน, ผลตอบแทน, ปัญหาบทคัดย่อ
การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกกระเทียมของเกษตรกรในในพื้นที่ ตำบล นาปู่ป้อม อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทน
ในการปลูกกระเทียมของเกษตรกร และปัญหาเกี่ยวกับการปลูกกระเทียม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ทำการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรในพื้นที่ตำบลนาปู่ป้อม อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 60 ราย และรวบรวมข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า
ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกกระเทียมของเกษตรกรส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยต้นทุนในการผลิต 126,460.36 บาท โดยส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยต้นทุนสูงสุดในเรื่องวัตถุดิบ 56,155.00 บาท ค่าเฉลี่ยผลผลิตต่อปี เท่ากับ 10,312.17 กิโลกรัม มีค่าเฉลี่ยของรายได้ต่อปี เท่ากับ 155,689.17 บาท
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลกำไรสุทธิ พบว่ากำไรขั้นต้นเฉลี่ย เท่ากับ 29,228.81 บาท เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมจะต้องจำหน่ายกระเทียมเฉลี่ย 3,680.39 กิโลกรัมต่อปี มีรายได้เฉลี่ย 45,121.58 บาทต่อปี มีอัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROI) เท่ากับ 23.11% และอัตรากำไรสุทธิต่อรายได้เฉลี่ย เท่ากับ 18.77% จึงจะคุ้มทุน
ปัญหาของเกษตรกรที่ผู้ปลูกกระเทียม พบว่ามีปัญหาสูงสุดด้านการจัดจำหน่ายในหัวข้อราคากระเทียมในตลาดตกต่ำ มีปัญหาน้อยที่สุดในด้านผลผลิตในหัวข้อปลูกแล้วไม่ขึ้น และอยากให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือในการประกันราคากระเทียมให้กับเกษตรกร
References
รัชนีกร ปัญญา. (2544). ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกกระเทียมของเกษตรกรในเขตอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิตการบัญชี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัชรพงษ์ คุณยศยิ่ง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตกระเทียมของเกษตรกรในตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เว็บไซต์เมดไทย. (2561). ประโยชน์ของกระเทียม. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561. จาก: https://medthai.com/กระเทียม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร