ต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายของผู้ประกอบการในตำบลหนองแรด อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • เอกชัย อุตสาหะ อาจารย์ประจำ สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • พรพิรุณ บัวระพา นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • พีราวรรณ อุ่นเรือน นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, ผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวาย

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายและเพื่อศึกษาปัจจัยการดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายของผู้ประกอบการในตำบลหนองแรด อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ประกอบการผู้สานตะกร้าหวายใน ตำบลหนองแรด อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย จำนวน 44 ราย และ เครื่องมือที่ใช้เก็บในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

             ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้อมูลทั่วไป ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุระหว่าง 51-60 ปี สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4-6 คน ประกอบอาชีพผลิตผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายเป็นอาชีพเสริมและประกอบอาชีพเกษตรเป็นหลัก วัตถุดิบหลักที่นำมาผลิตซื้อมาจากพ่อค้าคนกลาง จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านพ่อค้าคนกลาง ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงโดยขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าและขึ้นอยู่กับต้นทุนการผลิต (2) ต้นทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายเฉลี่ยโดยมีต้นทุนวัตถุดิบทางตรง 51,174.61 บาทต่อปี ต้นทุนค่าแรงงานทางตรง 45,821.62 บาทต่อปี ส่วนค่าใช้จ่ายประกอบด้วยต้นทุนวัตถุดิบทางอ้อม คือต้นทุนสีเคลือบเงาเฉลี่ย 3,044.50 บาทต่อปี ต้นทุนน้ำมันเบนซินเฉลี่ย 831.92 บาทต่อปี ต้นทุนเชือกถักหวายสีขาวเฉลี่ย 52,421.06 บาทต่อปี ต้นทุนเชือกถักหวายสีแดงเฉลี่ย 44,560 บาทต่อปี ต้นทุนวัสดุอุปกรณ์ใช้ไป 1,684.27 บาทต่อปี และค่าใช้จ่ายในส่วนของเครื่องมือและอุปกรณ์ ได้แก่ มีดเหลา 102.47 บาท ค้อน 52.79 บาท ตลับเมตร 90.34บาท กรรไกรตัดเหล็ก 154.79 บาท กรรไกรตัดหวาย 233.11 บาท ปืนยิงแม็กปั๊มลม 780.90 บาท และ ปั๊มลม 4,815.90 บาท รวมต้นทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวาย 205,768.28 บาทต่อปี (3) การผลิตผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่อปีเท่ากับ 245,680 บาทและผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการผลิตผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายเฉลี่ยต่อปีพบว่ามีอัตรากำไรต่อต้นทุน 19.40% อัตรากำไรสุทธิ 16.25% อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อขายสุทธิ 16.25% และอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 19.40%  (4) ปัจจัยการดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการตั้งราคา และด้านการส่งเสริมการขาย ตามลำดับ

References

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2560). รายงานโครงการเปิดศูนย์การเรียนรู้ สู่แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง. เชียงราย : กรมการศึกษานอกโรงเรียน.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงมณี โกมารทัต. (2551). การบัญชีต้นทุน. (พิมพ์ครั้งที่ 12).กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตั๋น ปาระมี. (2560). สัมภาษณ์. 9กันยายน 2560.

นวพร ทองนุช. (2559). การบัญชีต้นทุน. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2560 จาก: http://www.teacher.ssru.ac.th/nawaporn_th/file.php/

มาโนช กงกะนันทน์. (2560). หัตถกรรมพื้นบ้าน. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2560 จาก: http://www.saranukromthai.or.th

สุกัณฐ พูนชัย. (2551). ปัจจัยการผลิตตะกร้าหวาย บ้านบุทม จังหวัดสุรินทร์. (รายงานการวิจัย) สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแรด.(2558). ข้อมูลทั่วไปของตำบลหนองแรด. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2560 จาก : www.dmr.go.th/download/landslide57_58_tumbon210

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-11-2022