กระบวนการคิดสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมอาหารของนักศึกษา สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ดร.กัสมา กาซ้อน รองศาสตราจารย์ประจำสำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

กระบวนการคิดสร้างสรรค์, วัฒนธรรมอาหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมกระบวนการคิดสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมอาหารของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยการสนทนากลุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการขั้นตอนของกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สำนักวิชาบัญชี  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายจำนวน 268 คนและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

 ผลการวิจัยพบว่า ผลกระบวนการคิดสร้างสรรค์ทางด้านวัฒนธรรมอาหาร นักศึกษาได้ดำเนินกิจกรรมร่วมกัน สร้างสัมพันธภาพและฝึกทักษะกระบวนการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ มีการวางแผนการจัดกิจกรรม ระดมความคิดเห็นวิธีการทำงานให้เป็นขั้นตอนจนงานสำเร็จ นำความคิดเชิงสร้างสรรค์ ขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่สู่ความคิดใหม่ๆ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงานกลุ่ม มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน ใช้ทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า สามารถปรับตัวสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ในขณะดำเนินกิจกรรมและทำงานกลุ่มได้ มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง นำทักษะชีวิตและอาชีพมาพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานโดยนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นและหาได้ง่าย มาทำอาหารที่เพิ่มความหลากหลายแปลกใหม่ รักษาวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นจัดทำอาหารจากวัตถุดิบตามภูมิปัญญาท้องถิ่นทำให้มีสีสันน่ารับประทานและยังเพิ่มมูลค่าของอาหาร ความสามัคคีและได้รับความรู้จากการ  บูรณาการหลายวิชารวมถึงวิชาบัญชีในการคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนตามศตวรรษที่ 21 จากการทำกิจกรรมได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ช่วยยกระดับคุณธรรมในเรื่องความขยันหมั่นเพียร อดทน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในเรื่องของความมุ่งมั่นในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ

References

กัสมา กาซ้อน. (2553). การเรียนรู้แบบบูรณาการในการสอนรายวิชาสัมมนาทางการบัญชีในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : บริษัท วี อินเตอร์ พริ้น.

วัฒนธรรม. (2557). สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2557. จาก : 202.28.25.105/e-learning/courses/705311/.../bththii8Buy56.ppt?...

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิภาพรรณ พินลา. (2557). แนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. “วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณสงขลา, 1.” หน้า 1 -12.

สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.(2560). ประวัติสำนักวิชาบัญชี. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2560 จาก: http://accounting.crru.ac.th/accounting/1/index.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-11-2022