การพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มผลิตภาพของยางพาราก้อน กรณีศึกษา บ้านเนินสมบูรณ์ ตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • มโนชญ์ เทศอินทร์ นักวิจัยในชุมชน บ้านเนินสมบูรณ์ ตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
  • ดร.กัสมา กาซ้อน รองศาสตราจารย์ประจำสำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดร.ปานฉัตร อาการักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • นิรุตติ์ ชัยโชค อาจารย์ประจำ สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การพัฒนาเทคโนโลยี, การเพิ่มผลิตภาพ, ยางพารา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหลักเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มผลิตภาพของยางพาราก้อน กรณีศึกษา บ้านเนินสมบูรณ์ ตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย การบันทึกภาคสนาม  การสนทนากลุ่ม กิจกรรมสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ เกษตรกร ยุวเกษตรกร ประชาชน ตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนตำบล และนักพัฒนาชุมชน รวมทั้งหมดจำนวน 25 ราย  โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง  และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ ร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

          ผลการวิจัยพบว่า  การพัฒนาเทคโนโลยีได้ดำเนินการ 4 ส่วน (1) เตรียมการในการหาข้อมูลสภาพทั่วไป ต้นทุนและผลตอบแทนในการปลูกยางพารา เกษตรกรสวนใหญ่มีพื้นที่ปลูกยางพาราไม่เกิน 10 ไร่  ระยะเวลาที่เกษตรกรเริ่มปลูกยางพารา11 ปี ขึ้นไป อายุต้นยางพาราที่เกษตรกรเริ่มกรีดยางพารา 6 -10 ปี  จำนวนต้นยางพาราที่เกษตรกรปลูก 75 ต้นต่อไร่ เวลาที่กรีดยางพาราตอนกลางคืน  การเก็บผลผลิตจากยางพาราต่อการจำหน่าย 1 ครั้งใช้ระยะเวลาห่างกัน 6 วัน ระบบการกรีดยางพารากรีด 2 วัน เว้น 1 วัน จะมีการกรีดยางพาราด้วยตนเอง รูปแบบผลผลิตหลักเป็นยางก้อนถ้วย ปริมาณผลผลิตต่อครั้ง จำนวน 150 - 300 กิโลกรัม มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ เกษตรกรมีต้นทุนรวมเฉลี่ยรายละ 5,986.64 บาทต่อไร่ต่อปี เกษตรกรมีจำนวนผลผลิตเฉลี่ยรายละ 382.04 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยรายละ 11,952.96 บาทต่อไร่ต่อปี จุดคุ้มทุน เกษตรกรจะต้องได้ผลผลิต 0.09 ตันต่อไร่ต่อปีถึงจะคุ้มทุนกับการลงทุนต่อปี ผลการวิเคราะห์กำไร (ขาดทุน) จากการปลูกยางพาราเฉลี่ยต่อไร่ต่อปี พบว่าเกษตรกรมีกำไรสุทธิเฉลี่ยรายละ 5,966.32 บาทต่อไร่ต่อปี สำหรับผลการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกยางพาราเฉลี่ยต่อไร่ต่อปี พบว่า มีอัตรากำไรต่อต้นทุน ร้อยละ 99.66 อัตรากำไรต่อยอดขาย ร้อยละ 49.92 อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุน (ROI) ร้อยละ 26.78 และอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ร้อยละ 48.71 (2) วางแผนดำเนินงานให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาปัญหาและได้ข้อสรุปในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ที่ควรได้รับการแก้ไขตามลำดับ (3) ดำเนินงานได้ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดร่วมกันตั้งแต่เริ่มดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีตามตารางที่กำหนด ชี้แจงวัตถุประสงค์ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับจุลินทรีย์  ฝึกปฏิบัติจริงในพื้นที่โดยระดมความคิด ความสามารถของเกษตรกร และนักพัฒนาชุมชน ให้มีความรู้ความเข้าใจการนำจุลินทรีย์ใช้แทนน้ำกรดเป็นการเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ ทำให้ผู้รับซื้อให้ราคาเป็นการเพิ่มรายได้  มีความรู้ในการดูแลต้นยางพารา ที่จะทำให้สามารถเก็บผลผลิตให้มากขึ้นในปีถัดไปและความรู้ในเรื่องการดูแลต้นยางที่ไม่ให้ผลผลิต (4) ติดตามประเมินผล จากการใช้จุลินทรีย์ทำให้เพิ่มผลิตภาพ โดยนำน้ำหนักของยางพาราก้อนผลที่ได้มาเทียบกับสิ่งป้อนเข้า จึงสามารถทำการเปรียบเทียบผลผลิตให้เห็นได้หลังจากใช้จุลินทรีย์น้ำหนักเพิ่มขึ้น 50 % ในระยะเวลา 15 วันของการกรีด (15 มีด) ผลที่ได้รับยางก้อนมีสีขาว เนื้อนุ่ม น้ำหนักก้อนยางเพิ่มขึ้น ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีลอยต่อของช่วงการกรีด สร้างความพึงพอใจให้เกษตรกร ที่ทำให้มีรายรับเพิ่มและผู้รับซื้อยางพาราก้อนมีความต้องการเนื่องจากก้อนยางมีความยืดหยุ่นมากกว่าเดิม

References

กันต์ อินทุวงศ์. (ตุลาคม-ธันวาคม 2556). การถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากอ้อยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. 10(51). หน้า 9-16.

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการส่งเสริมเกษตร. (2560). สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2560 จาก : agecon-extens.agri.cmu.ac.th/Course_online/Course/352401/401บทที่1.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2560). การเสริมสร้าง และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในทางการเมือง

การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แก่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ปกครองท้องที่. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2560. จาก http://kpi.ac.th/media/pdf/M10_203.pdf

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : บริษัท วี อินเตอร์ พริ้น.

พิชญา โชติช่วงและกันต์ อินทุวงศ์. (2556). การถ่ายทอดเทคโนโลยีส่วนผสมของวัสดุในท้องถิ่นที่เหมาะสมต่อการผลิต เตาหุงต้มในครัวเรือนด้วยรูปแบบการจัดการองค์ความรู้สู่ชุมชน.ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 15(1). หน้า 1- 10.

สมศักดิ์ คูหาสวรรค์เวชและคณะ. (2554). การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเห็ดฟางด้วยระบบเตาผลิตไอน้ำแบบประหยัดพลังงานและลดมลพิษให้กับเกษตรกรผู้ผลิตเห็ดตำบลเกาะโพธิ์ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 32(3). หน้า 61 – 70.

สุทิวัส ธัญญะอุดร. (มกราคม-มิถุนายน 2557). การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วฝักยาวโดยวิธีการตัดยอดในระบบเกษตรอินทรีย์สำหรับเกษตรกรในอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. 7(1). หน้า 27- 34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-11-2022