การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ จำหน่ายในจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ดร.กัสมา กาซ้อน รองศาสตราจารย์ประจำสำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • พรวิไล การค้า นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน, เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ในจังหวัดเชียงราย  เพื่อวิเคราะห์จุดคุ้มทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ในจังหวัดเชียงรายและเพื่อศึกษาปัจจัยการดำเนินงานของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ในจังหวัดเชียงรายการวิจัยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูล โดยการออกแบบสอบถาม แล้วนำไปสอบถามเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 30 ราย โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง

          ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ช่วงอายุ 46-59 ปี มีระยะเวลาการเลี้ยงไก่ไข่ 1-5 ปี และส่วนใหญ่ทำเป็นอาชีพเสริม  สภาพทั่วไปของไก่ไข่ ส่วนใหญ่เป็นฟาร์ม/โรงเรือนที่ได้รับมาตรฐาน มีการเลี้ยงไก่ไข่แบบเปิด/บนบ่อปลา นำแม่พันธุ์ไก่ไข่ (18 สัปดาห์) มาเลี้ยงใช้แม่พันธุ์ไก่พันธุ์ซีพีบราวน์ มีการซื้ออาหารสำเร็จรูปจากบริษัทขายพันธุ์สัตว์ การให้น้ำใช้น้ำประปา การจำหน่ายผลผลิตด้วยตนเองและจำหน่ายผลผลิตแบบคละขนาด

จุดคุ้มทุนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไขในจังหวัดเชียงราย การสร้างโรงเรือนแบบชั่วคราว (ขนาดเล็ก) ต้นทุนต่ำกว่า 700,000 บาท และมีเลี้ยงไก่ไข่ ไม่เกิน 5,000 ตัวจะต้องขายไข่ไก่เฉลี่ย 4,620 ฟองต่อเดือน จึงจะคุ้มทุนพอดี และมีอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขาย 10.55 % และอัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROI) 11.80% และการสร้างโรงเรือนแบบถาวร (ขนาดใหญ่) ต้นทุนสูงกว่า 700,000 บาท และมีเลี้ยงไก่ไข่เกิน 5,000 ตัว จะต้องขายไข่ไก่เฉลี่ย 79,686 ฟองต่อเดือน จึงจะคุ้มทุนพอดีและอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขาย 5.65 % และอัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROI) 5.99 %

ปัจจัยการดำเนินงานเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไขในจังหวัดเชียงราย ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับคะแนนสูงสุด ได้แก่ ด้านการป้องกัน รองลงมา ด้านการจัดหาเงินทุน ด้านการจัดการตลาด  ด้านเทคโนโลยี และด้านราคา ตามลำดับ

References

กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2555). โครงการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล การเลี้ยงไก่ไข่. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560.จาก: http://oknation.nationtv.tv/blog/surapinyo/2012/10/01/entry-3.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกษสินี หมูกริ้ง และคณะ (2557). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงไก่ไข่ กรณีศึกษาปิ่นฟาร์มและบุญยืนฟาร์ม.สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560. จาก http://research.lpc.rmutl.ac.th/detail.php?rid=444.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2542). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : บีแอนด์บีพับลิชชิ่ง.

พลากร วิชาสวัสดิ์ และ ธรรมวิมล สุขเสริม. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสนใจของการตัดสินใจรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2560. จาก: http://www.graduate.ubru.ac.th/ubrujournal/assets/onlinefile/1436251147.pdf

ฟ้าหม่น ก้องกิตติสกุล. (2548). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออุปสงค์การนำเข้าพ่อแม่พันธ์ไก่ไข่. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560. จาก http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/113830.pdf

สุรเชษฐ์ ปินทิพย์ และคณะ. (2560). การเลี้ยงไก่ไข่และการบริหารกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2560. จาก : http://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-11-2022