ต้นทุนและผลตอบแทนของผู้ประกอบการรถรับ-ส่งนักเรียนในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ดร.ปานฉัตร อาการักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ธัญญาลักษณ์ รินน้อย นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • พิชญ์นรี ตอนะรักษ์ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, รถรับ-ส่งนักเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของผู้ประกอบการรถรับ-ส่งนักเรียน และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคของผู้ประกอบการรถรับ-ส่งนักเรียน ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ประกอบการรถรับ-ส่งนักเรียน ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุอยู่ในช่วง 41 – 50 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับมัธยมปลาย ผู้การประกอบธุรกิจรถตู้ทั้งหมดใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง (2) ผลการวิเคราะห์ต้นทุนคงที่เฉลี่ยต่อปี ประกอบด้วย ค่าทะเบียนยานพาหนะเฉลี่ย 1,900 บาทต่อปี ค่าเสื่อมราคาของรถตู้เฉลี่ยต่อปี 140,200 บาทต่อคนต่อปี ต้นทุนเฉลี่ยถังดับเพลิง 230 บาทต่อคนต่อปี ค้อนทุบกระจกต้นทุนเฉลี่ย 45.8 บาทต่อคนต่อปี และต้นทุนผันแปรประกอบด้วยค่าซ่อมบำรุง ค่าน้ำมันเครื่อง ค่าน้ำมัน ใบอนุญาตขับขี่ ค่า พรบ. ค่าภาษีรถค่าตรวจสภาพรถ มีต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 21,766.67 บาทต่อปี และมีรายได้เฉลี่ยต่อปี 188,633.33 บาทต่อปี ผู้ประกอบการมีกำไรจากการประกอบการการขนส่งโดยสารรถตู้เฉลี่ย 24,490.86 บาทต่อปี (3) ปัจจัยปัญหาของผู้ประกอบการรถรับ-ส่งนักเรียน ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ (3.1) ปัญหาด้านเศรษฐกิจที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือความไม่แน่นอนของราคาน้ำมัน รองลงมาคือความไม่แน่นอนของผู้โดยสาร (3.2) ด้านการบริหารจัดการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือปัญหาในการขอหนังสืออนุญาตให้ใช้รับ-ส่งนักเรียน  รองลงมาคือผู้โดยสารที่ไปรับไม่ตรงต่อเวลา อันดับสามคือเวลาที่ใช้ในการเดินทางและ (3.3) ปัญหาด้านความปลอดภัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านปัญหาฝุ่นควัน  รองลงมาคือปัญหาหมอกควัน อันดับสามคือคุณภาพการยึดเกาะเก้าอี้ไม่มั่นคงแข็งแรง

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2542). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : บีแอนด์บีพับลิชชิ่ง.

พนิดา ทองสุข. (2556). การวิเคราะห์ต้นทุนประกอบการขนส่งรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเปรียบเทียบกับรถเอกชนร่วมบริการ. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2560 จาก : https://www.google.co.th/search?q=พนิดา+ทองสุข.+(2556).

มนวิภา ผดุงสิทธิ์. (2560). การบัญชีต้นทุน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

เรวัต ตันตยานนท์. (2559). ผลตอบแทน. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2560 จาก : http://www.bangkokbiznews.com/blog/blogger/150.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-11-2022