วิธีการจัดทำบัญชี ต้นทุน และผลตอบแทนของการผลิตปลาส้ม กรณีศึกษา กลุ่มผู้ผลิตปลาส้ม ตำบลบ้านสาง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • วรลักษณ์ วรรณโล สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

วิธีการจัดทำบัญชี, ต้นทุน, ผลตอบแทน

บทคัดย่อ

วิธีการจัดทำบัญชี ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตปลาส้ม กรณีศึกษากลุ่มผู้ ผลิตปลาส้ม ตำบลบ้านสาง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจัด ทำบัญชี ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตปลาส้ม โดยเก็บข้อมูลจากการใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปลาส้มในเขตตำบลบ้านสาง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยการแบ่งประชากรออกเป็น 2 ขนาด ตามวัตถุดิบที่ใช้ พบว่า ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตปลาส้ม ขนาดที่ 1 มีค่าใช้จ่ายลงทุนเริ่มแรกเท่ากับ 53,300.00 บาท และค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงาน เท่ากับ 1,102,199.44 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายในการผลิต เท่ากับ 26,880.00 บาท มีต้นทุนคงที่เท่ากับ 5,428.21 บาท ผลตอบแทนจากการลงทุนผลิตปลาส้มตลอด ระยะเวลา 5 ปี ผลตอบแทนหรือรายได้ทั้งหมดเท่ากับ 1,275,680.00 บาท พบว่า จุดคุ้ม ทุนของการจำหน่ายปลาส้ม คือถุงใหญ่ ขนาด 1 กิโลกรัมเท่ากับ 441 ถุง ขนาดที่ 2 มีค่าใช้จ่ายลงทุนเริ่มแรกเท่ากับ 256,000.00 บาท และค่าใช้จ่ายใน การดำเนินงาน เท่ากับ 32,979,878.61 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายในการผลิต เท่ากับ 311,400.00 บาท มีต้นทุนคงที่เท่ากับ 40,147.50 บาท ผลตอบแทนจากการลงทุนผลิต ปลาส้มตลอด ระยะเวลา 5 ปี ผลตอบแทนหรือรายได้ทั้งหมดเท่ากับ 50,196,160.00 บาท พบว่า จุดคุ้มทุนของการจำหน่ายปลาส้ม คือจำหน่ายถุงเล็กขนาด 200 กรัมเท่ากับ 1,165 ถุง ถุงใหญ่ขนาด 500 กรัมเท่ากับ 1,770 ถุง แบบแผ่นขนาด 500 กรัม เท่ากับ 933 ถุง วิธีการจัดทำบัญชีของกลุ่มผู้ผลิตปลาส้ม กลุ่มที่มีทั้งกิจการที่จัดทำบัญชีและกิจการที่ไม่ได้จัดทำบัญชี เรื่องเอกสารประกอบ การลงบัญชีทุกรายไม่มีเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชี ส่วนความต้องการทางด้าน บัญชีที่กลุ่มหวังให้ผู้วิจัยดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแบบฟอร์มง่าย ๆ เพื่อให้กลุ่มหาต้นทุน การผลิตปลาส้มแต่ละครั้ง และสามารถรู้กำไรที่แท้จริงของกิจการได้

References

การเพาะเลี้ยงปลาจีน. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2559, จาก http://www.fisheries. go.th/if-suratthani/1plajeen.htm

ชูศรี เที้ยศิริเพชร. (2544). สภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาการใช้ข้อมูลทาง การบัญชีเพื่อการบริหารธุรกิจในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(1), 20-30.

เทศบาลตำบลบ้านสาง. บทสัมภาษณ์นายกเทศมนตรีตำบลบ้านสาง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. 2559

ประกายดาว ดํารงพันธ์. (2536). ความพึงพอใจของลูกคาที่มีต่อการให้บริการด้าน สินเชื่อ:กรณีศึกษาศูนย์ธุรกิจสะพานขาวธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

ไพโรจน์ เฮงแสงชัย. (2549). การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการ เลี้ยงเป็ด ไข่แบบฟาร์มปล่อยลานและแบบไล่ทุ่ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

พิทยา สระน้ำ. (2550). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการทำฟาร์มโคนม ของสมาชิกสหกรณ์โคนมมวกเหล็ก จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

รัตนติกาล แปงมา. (2549). แนวทางการพัฒนาตลาดของธุรกิจปลาส้ม ในเขต อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย มหาสารคาม).

วุฒิศักดิ์ สุรินกาน. (2550). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกฝรั่ง พันธุ์กลมสาลี่ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ข้อมูลจังหวัดพะเยา. ระบบออนไลน์. แหล่งที่มา http://www.phayao.go.th/detail. html (30 กันยายน 2559).

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. มาตรฐานการรายงานทางการเงิน. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2560, จาก http: // www.fap.or.th)

อังกินันท์ หัสดินทร์. (2555). การประกอบธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2560, จาก http: //www.13nr.ort/posts/529361)

อรวรรณ เชื้อเมืองพาน. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของ การเลี้ยงเป็ดไข่แบบฟาร์มปล่อยลานและแบบไล่ทุ่ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2016