ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าวในพื้นที่ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • สุภมล ดวงตา สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • นิรุตติ์ ชัยโชค สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • วัฒนา ยืนยง สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, การปลูกข้าว, โครงสร้างต้นทุน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าว เพื่อ วิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าว และศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไข ปัญหาการปลูกข้าวในพื้นที่ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย กลุ่มประชากรที่ใช้ใน การศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เกษตรกรผู้มีอาชีพปลูกข้าวในพื้นที่ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จำนวน 42 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ทางสถิติ วิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และใช้การคำนวณทางบัญชี ผลการศึกษาผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็น ร้อยละ 69.05 อายุ 51-60 ปี คิดเป็นร้อยละ 57.15 มีระดับการศึกษาประถมศึกษาตอนต้น (ป.4) คิดเป็นร้อยละ 52.38 พื้นที่ในการปลูกข้าวของเกษตรกรทั้งหมดเป็นที่ดินของตนเองและใช้วิธีการเพาะปลูก แบบทำนาดำ ต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อไร่ ในการลงทุนปลูกข้าวของเกษตรกรรายย่อยมีต้นทุนรวมเฉลี่ย 4,327.17 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนในการลงทุนปลูกข้าวของเกษตรกรรายย่อย ให้ผลผลิตเฉลี่ย 0.77 ตันต่อไร่ ให้รายได้เฉลี่ย 8,863.07 บาทต่อไร่ มีกำไรสุทธิเฉลี่ย 3,764.70 บาทต่อไร่ มีจุด คุ้มทุนอยู่ที่ 0.02 ตันต่อไร่ มีอัตรากำไรต่อต้นทุนร้อยละ 87 อัตรากำไรต่อยอดขายร้อยละ 42.48 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ร้อยละ 40.37% สำหรับโครงสร้างต้นทุนในการปลูกข้าวเฉลี่ยต่อไร่ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ค่าแรงงานร้อยละ 49.17 ค่าใช้จ่ายการผลิตร้อยละ 48.21 และค่าวัตถุดิบร้อยละ 2.62 โครงสร้าง ต้นทุนค่าแรงงานในการปลูกข้าวเฉลี่ยต่อไร่ประกอบด้วย 4 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ค่าแรงงานตนเอง ร้อยละ 62.54 ค่าจ้างปลูก (เหมาจ่าย) ร้อยละ 32.74 ค่าจ้างหว่านปุ๋ยและค่าจ้างฉีดพ่นยาร้อยละ 50.14 และ โครงสร่างต้นทุนค่าใช้จ่ายการผลิตเฉลี่ยต่อไร่ประกอบด้วย 8 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ค่าจ้างไถนาร้อยละ 34.83 ค่าจ้างรถเกี่ยวข้าวร้อยละ 28.75 ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 18.51 ค่าปุ๋ยร้อยละ 9.50 ค่ายาปราบวัชพืชร้อยละ 3.52 ค่ายาปราบศัตรูพืชร้อยละ 2.52 ค่าฮอร์โมน บำรุงข้าวร้อยละ 2.07 และค่าภาษีที่ดินร้อยละ 0.30 ปัญหาในการปลูกข้าวของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัด เชียงราย ที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ปัญหาภัยธรรมชาติ เช่นฝนแล้ง รองลงมา คือ ดินเสื่อม คุณภาพ และอันดับสามคือราคาปุ๋ยสูงขึ้น และแนวทางแก้ไขปัญหาในการปลูกข้าวพบว่า ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่พบมากที่สุด อันดับแรก คือ หน่วยงานภาครัฐควรให้ความรู้ เกี่ยวกับการปลูกและการปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการปลูกข้าวเพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่ม ผลผลิตให้มากขึ้น รองลงมาคือ หน่วยงานภาครัฐควรให้ความรู้เกี่ยวกับการลดการใช้ปุ๋ยเคมี

References

ความสำคัญของข้าว. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://thairicebuu.wordpress.com

นีรนาท ศรีเจริญ และคณะ. (2554). การพัฒนาบัญชีต้นทุนการผลิตข้าว เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทน ของเกษตรกรที่มีที่นาเป็นของตนเอง ตําบลบ้านวังยาว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ศูนย์พัฒนาความรู้การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า. โครงสร้างต้นทุนปลูกข้าว (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.aftc.or.th/

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2556). ผลพยากรณ์การผลิตข้าวนาปี ปี 2556 (ปีเพาะปลูก 2556/57) รายจังหวัด ที่ความชื้น 15% ณ เดือน ธันวาคม (ออนไลน์). แหล่งที่มา :http://www2.oae.go.th/mis/Forecast/

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2554 เอกสารสถิติการเกษตรเลขที่ 401. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.oae.go.th

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. สถานการณ์สินค่าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2555. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www2.oae.go.th/mis/Forecast/page3_th.html#

สุขใจ ตอนปัญญา. (2554) ต้นทุนและผลตอบแทนในการปลูกข้าวของเกษตรกร หมู่ 5 ตำบลหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. รายงานวิจัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก. (2553). ข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบล.รายงาน ประจำปี ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2016