ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเกษตรของการปลูกกาแฟอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • วรลักษณ์ วรรณโล สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • พัทธมน บุณยราศรัย สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, การปลูกกาแฟ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนทางการเกษตรของ การปลูกกาแฟและปัญหาและอุปสรรคทางการเกษตรของการปลูกกาแฟ อำเภอแม่สรวย จังหวัด เชียงราย กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เกษตรกรผู้มีอาชีพปลูกกาแฟ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย จำนวน 292 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามในการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานการแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ (Percentage) และ วิเคราะห์ผลตอบแทนโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio) จากผลการวิจัยข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรส้วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 80.47 มีอายุอยู่ระหว่าง 31 – 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 54.45 การเพาะปลูกกาแฟด้วยวิธีการทดลองปลูกเอง คิดเป็นร้อยละ 41.78 รูปแบบการจัดจำหน่ายผลผลิตจะมีการจำหน่ายผลผลิตในรูปแบบกะลา คิดเป็นร้อยละ 73.63 จำหน่ายผลผลิตให้พ่อค้าคนกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 78.77 ต้นทุนการปลูกกาแฟประกอบด้วยต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรโดยต้นทุนคงที่พิจารณา จากค่าเสื่อมราคาเฉพาะการใช้งานในการปลูกกาแฟ ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์รวม 1,242.54 บาท ต่อไร่ต่อปี สำหรับต้นทุนผันแปรประกอบด้วย (1) ต้นทุนวัสดุในการปลูกกาแฟรวมทั้งสิ้น 7,223.74 บาท ต่อไร่ (2) ต่นทุนค่าแรงงานรวมทั้งสิ้น 7,470.45 บาทต่อไร่ และ (3) ค่าใช้จ่าย การผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 608.00 บาทต่อไร่ ส่วนผลผลิตการปลูกกาแฟเฉลี่ย 815 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.15 บาทและจำนวนเงินที่ได้รับ 16,422.25 บาทต่อไร่ต่อปี ผลตอบแทนการปลูกกาแฟ การลงทุนปลูกกาแฟของเกษตรกรรายย่อยในสองปีแรก ขาดทุนที่ 122.48 บาทต่อไร่ และการลงทุนปลูกกาแฟของเกษตรกรรายย่อยในปีที่สามขึ้นไป มีกำไร 4,005.94 บาทต่อไร่ผลตอบแทนกำไรสุทธิต่อรายได้คิดเป็นร้อยละ 24.39 อัตรากำไร สุทธิต่อต้นทุน คิดเป็นร้อยละ 35.85 และจุดคุ้มทุน 69.42 กิโลกรัมต่อไร่ ปัญหาและอุปสรรคในการปลูกกาแฟที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ราคาผลผลิต แต่ละปี ขึ้นลงไม่แน่นอน รองลงมา คือ ค่าปุ๋ยและยาฆ่าแมลงราคาแพงและอันดับสามคือขาด แคลนแรงงาน

References

กรมวิชาการเกษตร. (2557). กาแฟอาราบิกา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=9.

กาแฟพืชเศรษฐกิจสำคัญ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://ogcof.blogspot.com/2013/05/ blog-post.html

ณัทฐิมา สุขเสวียด, พรชุลีย์ นิลวิเศษ และ สุนันท์ สีสังข์. (2554). การผลิตและการตลาดกาแฟ ของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร. (เกษตรศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช

สำนักงานสถิติเชียงราย. (2555). สถิติการปลูก. เชียงราย : สำนักงานสถิติเมืองเชียงราย.

อดุลย์ศักดิ์ ไชยราช. (2557). กาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอนาคตไกล.(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.thainews70.com.

Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York : Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2016