ความสามารถการเป็นผู้ประกอบการกับความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ณภัทร ทิพย์ศรี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
  • ภัทราพร สมเสมอ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
  • กนกอร จิตจำนงค์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

คำสำคัญ:

ความสามารถการเป็นผู้ประกอบการ, ความสำเร็จของธุรกิจ, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความสามารถการเป็นผู้ประกอบการกับความสำเร็จในการประกอบธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดเชียงราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 397 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ F-test และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ แบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถการเป็นผู้ประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ในจังหวัดเชียงราย มีความสามารถอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นราย ด้าน พบว่า ส่วนใหญ่มีความสามารถด้านความเป็นอิสระ รองลงมา การยอมรับความเสี่ยง และความสามารถเชิงรุก ตามลำดับ สำหรับผลการเปรียบเทียบความสามารถการเป็นผู้ ประกอบการ จำแนกตามประเภทของธุรกิจ และระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ พบว่า ประเภทของธุรกิจ และระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจต่างกัน มีความสามารถการเป็นผู้ ประกอบการไม่ต่างกัน นอกจากนั้น ผลการศึกษาครั้งนี้ ยังพบว่า ความสามารถการเป็นผู้ ประกอบการ ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ความเป็นอิสระ ศักยภาพทางนวัตกรรม การยอมรับความ เสี่ยง ความสามารถเชิงรุก และการแข่งขันเชิงรุก มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จใน การประกอบธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ นำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผน พัฒนาความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการเพื่อให้ธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประสบความสำเร็จและมีศักยภาพทางการแข่งขันใน ตลาดต่อไป

References

กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์. (2547). การจัดการธุรกิจขนาดย่อม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น.

ธนาวุฒิ พิมพ์กิ. (2556). การเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11. นนทบุรี : เอส. อาร์. พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.

นิสิต มโนตั้งวรพันธ์. (2553). วัฒนธรรมธุรกิจในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 30(3), 31-36.

พนิดา สัตโยภาส และคณะ. (2557). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างภาวการณ์ประกอบการ ความสามารถทางการตลาด นวัตกรรมและกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มล้านนาของประเทศไทย. วารสารการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(1), 11-29.

สมทรัพย์ ไชยนิคม และคณะ. (2554). ผลกระทบของความสามารถในการประกอบการที่มีผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. คณะการบัญชีและการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2553). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2553 และแนวโน้มปี 2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). 2558. แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (2555 – 2559), สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2558, จาก http://www.sme.go.th

Coulter, Mary K. (2003). Entrepreneurship in action. 2nd ed. Upper Saddle River, New Jersy: Prentice Hall.

Covin, J.G., and Slevin, D.P. (1989). Strategic management of small firms in hostile and benign environments. Strategic Management Journal, 10, 75-78.

Lumpkin, G. T., & Dess, G. G. (1996). Clarifying the entrepreneurial orientation construct and linking it to performance. Academy of Management Review, 21(1), 135-172.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2017