นโยบายการใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ภาคตะวันออกประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกณฑ์ที่เหมาะสมในการพิจารณานำหุ่นยนต์มาแทนที่แรงงานในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยใช้วิจัยแบบเชิงคุณภาพเทคนิคการวิจัย เชิงอนาคตแบบ EDFR กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงจากผู้มีประสบการณ์ตรงจากผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ นักวิชาการหุ่นยนต์ ด้านผู้ใช้งานหุ่นยนต์ ผู้พัฒนาระบบการใช้หุ่นยนต์ และภาครัฐ รวมจำนวนผู้เชี่ยวชาญ 30 คน ยืนยันผลด้วยและการสนทนากลุ่ม (Focus group) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 7 คน ผลจากการศึกษา พบว่า มี 3 เกณฑ์หลัก 1) เกณฑ์คุณลักษณะ ประกอบด้วย ค่าตอบแทนแรงงาน การแข่งขันทางธุรกิจ การขาดแคลนแรงงาน ธรรมมาภิบาล/ จริยธรรม การศึกษาของแรงงาน เทคโนโลยีการผลิต การเพิ่มผลผลิต ความแม่นยำ ความปลอดภัย ทักษะของแรงงาน ต้นทุนการผลิต คุณภาพสินค้า ผลตอบแทนการลงทุน หุ่นยนต์มือสองจากต่างประเทศ ความทนทานในการใช้งาน หุ่นยนต์ที่ผลิตในประเทศ 2) เกณฑ์การใช้งาน (กิจกรรม) ประกอบด้วย การป้อนวัสดุเข้า-ออกจากเครื่องจักร การลำเลียงวัสดุ การเชื่อม การประกอบ การปรับแต่งขนาด การพ่นสี การตรวจสอบคุณภาพและการบรรจุภัณฑ์ และ 3) เกณฑ์อัตราการทดแทนแรงงาน ประกอบด้วยการป้อนวัสดุเข้า-ออกจากเครื่องจักร หุ่นยนต์ 1 ตัว แทนที่แรงงานได้ 1 คนขึ้นไป
การลำเลียงวัสดุ การเชื่อม การประกอบ การปรับแต่งขนาดหุ่นยนต์ 1 ตัว แทนที่แรงงานได้ 2-3 คนขึ้นไป การพ่นสี การตรวจสอบคุณภาพ หุ่นยนต์ 1 ตัว แทนที่แรงงานได้ 3 คนขึ้นไป และการบรรจุภัณฑ์หุ่นยนต์ 1 ตัว แทนที่แรงงานได้ 1 คนขึ้นไป
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.