ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการนำนโยบายความปลอดภัยทางถนนในด้านการบังคับใช้กฎหมายไปปฏิบัติกับผู้ไม่สวมหมวกนิรภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร

Main Article Content

ศุภชาติ เวชพร
ประพนธ์ สหพัฒนา
เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยระดับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ระดับสถานีตำรวจและระดับชุมชนที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือในการนำนโยบายความปลอดภัยทางถนนในด้านการบังคับใช้กฎหมายไปปฏิบัติกับผู้ไม่สวมหมวกนิรภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล กลุ่มตัวอย่างศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล จำนวน 342 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามใช้มาตรวัดแบบระบุค่าที่กำหนด (1-10) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS ในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และโปรแกรม HLM ในการวิเคราะห์พหุระดับ

ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรระดับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ได้แก่ ระยะเวลาในการรับราชการตำรวจ การรับรู้และเข้าใจที่มีต่อนโยบาย และความขัดแย้งในบทบาททางวิชาชีพ ตัวแปรระดับสถานีตำรวจ ได้แก่ ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยนิยม  และตัวแปรระดับชุมชน ได้แก่  อัตราการเกิดคดีฆาตกรรม มีอิทธิพลต่อความร่วมมือในการนำนโยบายด้านการบังคับใช้กฎหมายไปปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  โดยตัวแปรระยะเวลาในการรับราชการตำรวจ การรับรู้และเข้าใจที่มีต่อนโยบาย ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยนิยม  อัตราการเกิดคดีฆาตกรรม มีอิทธิพลเชิงบวก ส่วนความขัดแย้งในบทบาททางวิชาชีพนั้น มีอิทธิพลเชิงลบ 

ABSTRACT

This work aims to study a causal relationship among  an individual factor of traffic police officers, a police station factor, and a neighborhood factor that has an impact on  traffic police officers’ cooperation of road safety policy implementation on law enforcement: a case of drivers who wear no helmet in Bangkok. A population sample is composed of 342 traffic police officers at Metropolitan Police Bureau generated from a multiple sampling technique. This study applies a methodology of rating scale questionnaire (1-10) for both SPSS correlation analysis and HLM  multilevel analysis.  

Findings show that among an individual factor of traffic police officers which refers to both a length of government service and a policy comprehension and understanding, a police station factor which refers to a democratic leadership style, and a neighborhood factor which refers to a homicide rate have a positive influence on a cooperation of traffic police officers in implementing a road safety policy particularly on a law enforcement.  On the other hand, solely factor of a role conflict has a negative influence on this substance.

Article Details

How to Cite
เวชพร ศ., สหพัฒนา ป., & โชติชาครพันธุ์ เ. (2016). ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการนำนโยบายความปลอดภัยทางถนนในด้านการบังคับใช้กฎหมายไปปฏิบัติกับผู้ไม่สวมหมวกนิรภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 11(2), 113–128. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/73860
Section
บทความวิจัย