การตรวจสอบเครื่องมือในการวัดรูปแบบภาวะผู้ตามที่มีความกล้าหาญ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบ

Main Article Content

กล้าหาญ ณ น่าน
กฤษดา เชียรวัฒนสุข

Abstract

บทคัดย่อ

 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวัดภาวะผู้ตามที่มีความกล้าหาญตามแนวคิดของ Chaleff (1995) ที่ได้ระบุ 5 พฤติกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะของผู้ตามที่ได้แสดงออกในบทบาทของผู้ตามที่มีความกล้าหาญ ประกอบด้วย 1) ความกล้ารับผิดชอบจากการกระทำของตน (Courageous to assume responsibility) 2) ความกล้าอาสาช่วยทำงาน (Courageous to serve) 3) ความกล้าหาญต่อสิ่งที่ท้าทาย (Courageous to challenge) 4) ความกล้าร่วมเปลี่ยนแปลงองค์กร (Courageous to participate in transformation) และ 5) ความกล้าหาญที่จะดำเนินการอย่างมีศีลธรรม (Courageous to take moral action) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักวิจัยในการพิจารณานำมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้ตามที่มีความกล้าหาญในอนาคต โดยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis: FA) ซึ่งในการศึกษานี้ได้ทำการศึกษาในอุตสาหกรรมรถยนต์โดยพิจารณากลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการที่ทำงานอยู่ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนคร และมีสถานภาพเป็นพนักงานประจำซึ่งมีประชากรทั้งสิ้น 2,735 คน ซึ่งทำการคำนวณกลุ่มตัวอย่างได้ 399 คน ผลการศึกษาที่ได้จากการสกัดปัจจัยโดยวิธี Principal Component Analysis (PCA) และทำการหมุนแกนด้วยวิธี Varimax พบว่าตัวแปรทั้ง 20 ตัวแปร (ข้อคำถาม) ที่เหลืออยู่ในขั้นตอนสุดท้าย มีค่าสถิติทดสอบ Kaiser-Meyer-Olkin เท่ากับ.897 และได้ค่า Bartlett's Test of Sphericity ซึ่งมีการแจกแจงแบบ Chi- Square ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3256.008 โดยที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 190 และมีค่า Sig. ของการทดสอบเท่ากับ .000 ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดในการวัดภาวะผู้ตามที่มีความกล้าหาญทั้ง 5 พฤติกรรม ตามแนวคิดของ Chaleff  

ABSTRACT

 

The objective of this research was to investigate the measurement instrument of courageous followership model of Chaleff (1995), indicating the five traits of follower’s distinctive behavior including 1) courageous to assume responsibility 2) courageous to serve, 3) courageous to challenge 4) courageous to participate in transformation and 5) courageous to take moral action. The result can be modeled and implemented for further researches related to future courageous followership. In this study, automobile industry concentrating on spare part companies located in Nava Nakorn Industrial Estate was selected as a study area. Over 2,735 permanent operation-level employees, there were only 399 ones selected as the study samples. For data analysis, factor analysis technique with principal component analysis (PCA) with Varimax rotation was employed. The finding indicated that 20 variables (questions) remained in the final analysis step had the result correspondent to Chaleff’s 5 traits of courageous followership with the value of Kaiser-Meyer-Olkin as of .897, Bartlett's Test of Sphericity with Chi- Square as of 3256.008, degree freedom (df) as of 190 and Sig as of .000

 

Article Details

How to Cite
ณ น่าน ก., & เชียรวัฒนสุข ก. (2016). การตรวจสอบเครื่องมือในการวัดรูปแบบภาวะผู้ตามที่มีความกล้าหาญ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบ. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 11(2), 47–61. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/73705
Section
บทความวิจัย