การพัฒนาซอฟต์แวร์บัญชีอย่างมีจริยธรรม ความน่าเชื่อถือของซอฟต์แวร์บัญชี และประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร: การศึกษาเชิงประจักษ์ของธุรกิจซอฟต์แวร์บัญชีในประเทศไทย

Main Article Content

ขจิต ก้อนทอง

Abstract

วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยนี้เพื่อทดสอบผลกระทบของการพัฒนาซอฟต์แวร์บัญชีที่คำนึงถึงหลักจริยธรรม ที่มีต่อการรับรู้ถึงความน่าเชื่อถือของซอฟต์แวร์บัญชี และผลการดำเนินงานของธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์บัญชีในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ยังได้ศึกษาถึงอิทธิพลของตัวแปรแทรก ได้แก่ สภาพแวดล้อมด้านบรรษัทภิบาล และความเข้มข้นทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์บัญชีที่คำนึงถึงหลักจริยธรรมและการรับรู้ถึงความน่าเชื่อถือของซอฟต์แวร์บัญชี ในการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ธุรกิจผลิตซอฟต์แวร์บัญชี 522 แห่ง โดยมี 119 แห่งที่ตอบกลับแบบสอบถามและแบบสอบถามมีความสมบูรณ์สำหรับการวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์บัญชีที่คำนึงถึงหลักจริยธรรม มีผลกระทบเชิงบวกกับการรับรู้ถึงความน่าเชื่อถือของซอฟต์แวร์บัญชี และผลการดำเนินงานทั้งด้านที่เป็นตัวเงิน และด้านที่ไม่เป็นตัวเงิน สำหรับผลกระทบของตัวแปรแทรกจากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สภาพแวดล้อมด้านบรรษัทภิบาลมีผลกระทบเชิงลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์บัญชีที่คำนึงถึงหลักจริยธรรมและการรับรู้ถึงความน่าเชื่อถือของซอฟต์แวร์บัญชี นอกจากนี้ยังพบว่าความเข้มข้นทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบเชิงบวกต่อความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์บัญชีที่คำนึงถึงหลักจริยธรรมและการรับรู้ถึงความน่าเชื่อถือของซอฟต์แวร์บัญชี

Article Details

How to Cite
ก้อนทอง ข. (2016). การพัฒนาซอฟต์แวร์บัญชีอย่างมีจริยธรรม ความน่าเชื่อถือของซอฟต์แวร์บัญชี และประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร: การศึกษาเชิงประจักษ์ของธุรกิจซอฟต์แวร์บัญชีในประเทศไทย. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 11(1), 125–140. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/64388
Section
บทความวิจัย