การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนขอนิสิตอาชีวศึกษา (ปวส.) สาขาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานำเสนอรูปแบบใหม่สำหรับการเรียนการสอนของโรงเรียนสาธิตอาชีวศึกษา (ปวส.) สาขาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยบูรพาโดยการเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษา (ปวส.) ภาคตะวันออกที่มีการเรียนการสอนสาขาบริหารธุรกิจจำนวน 9 คนสัมภาษณ์เชิงลึกนักศึกษา โรงเรียนสาธิตอาชีวศึกษา (ปวส.) สาขาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยบูรพาจำนวน 16 คน การเก็บแบบสอบถาม (Survey) ผู้ประกอบการ/ หัวหน้างาน บริษัทส่งออก-นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่มีการจ้างงานพนักงานระดับ ปวส.จำนวน 446 คน และการสนทนากลุ่มผู้บริหารหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนโรงเรียนสาธิตอาชีวศึกษา(ปวส.)สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ ของวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รูปแบบการเรียนการสอนของโรงเรียนสาธิตอาชีวศึกษา (ปวส.)สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ ของวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตาม ผลการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาภาคตะวันออก และการสัมภาษณ์เชิงลึกนิสิต พบว่า ควรมีการพัฒนารูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มศักยภาพให้การเรียนการสอนสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการและนิสิต ดังที่ ผลการทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่า ปัจจัยด้านการจัดการอาชีวศึกษาของวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ มีอิทธิพลต่อแนวโน้มความต้องการในการจ้างนิสิตอาชีวศึกษา สาขาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ ปัจจัยด้านการฝึกประสบการณ์อาชีพ การพัฒนาในความรู้และทักษะการพัฒนาวิชาการ/ วิชาชีพและการสนับสนุนและให้คำแนะนำ ดังนั้นรูปแบบใหม่สำหรับการเรียนการสอนของโรงเรียนสาธิตอาชีวศึกษา (ปวส.) สาขาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยบูรพาควรให้ความสำคัญในเรื่องการฝึกงาน การเรียนเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนมาต่อยอดการทำงาน เน้นความสามารถในการวินิจฉัยปัญหาตามหลักและเหตุผล ความสามารถในการใช้ความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติในการจัดการปัญหาใหม่ในเชิงวิชาการและวิชาชีพ เน้นให้ผู้เรียน มีความรับผิดชอบในการดำเนินงานด้วยตนเอง มีทักษะการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจารย์แนะแนวจะต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนในการแนะแนววิธีการเรียนรู้อย่างเหมาะสม
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.