การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของโมเดลสมรรถนะบุคลากรสายผู้สอน สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

Main Article Content

วลัยพร สุขปลั่ง
บรรพต วิรุณราช

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนขององค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลสมรรถนะบุคลากรสายผู้สอนสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งได้พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ บุคลากรสายผู้สอนสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 150 ท่านโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และได้รับการตอบกลับ 135 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2 = 77.99, df = 77, c2/df = 1.013, GFI = 0.93, CFI = 0.99, RMSEA = 0.01) งานวิจัยนี้ศึกษาสมรรถนะของบุคคลากรสายผู้สอน 3 ด้าน คือ สมรรถนะหลัก สมรรถนะทั่วไป   และสมรรถนะประจำสายงาน โดยผลการศึกษาพบว่า 1) สมรรถนะหลักที่มีอิทธิพลต่อบุคลากรสายผู้สอนสูงสุดได้แก่ สมรรถนะด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน (0.52) รองลงมาคือด้านการทำงานเป็นทีม (0.49) และด้านการมุ่งบริการ (0.44) 2)สมรรถนะทั่วไปที่มีอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ สมรรถนะด้านการวางแผน (0.69) รองลงมาคือด้านการประเมิน (0.62) และด้านการคิดวิเคราะห์ (0.61) 3) สมรรถนะประจำสายงานที่มีอิทธิพลสูงสุดได้แก่ สมรรถนะด้านการบริการวิชาการ (0.67) รองลงมาคือ ด้านวิจัย (0.59) และด้านการสอน (0.51) 

Article Details

How to Cite
สุขปลั่ง ว., & วิรุณราช บ. (2016). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของโมเดลสมรรถนะบุคลากรสายผู้สอน สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 10(2), 91–104. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/52383
Section
บทความวิจัย