สมรรถนะขององค์การในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เพื่อการส่งออกในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย

Main Article Content

นิภา สุพิชญางกูร

Abstract

วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงของ สมรรถนะด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์           และ สมรรถนะด้านการจัดการความรู้ ที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน; เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงของสมรรถนะด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สมรรถนะด้านการจัดการความรู้ และ ความสามารถในการแข่งขันที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานในการส่งออก; เพื่อศึกษาอิทธิพลทางอ้อมของ สมรรถนะด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ สมรรถนะด้านการจัดการความรู้ ที่ส่งผ่านความสามารถในการแข่งขันและ ส่งผลต่อผลการดำเนินงานในการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปเพื่อการส่งออกในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย

ผลการวิจัยพบว่า ยอมรับสมมติฐานข้อที่ 1 สมรรถนะด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สมรรถนะด้านการจัดการความรู้  ความสามารถในการแข่งขัน และ ผลการดำเนินงานในการส่งออก                       มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปเพื่อการส่งออกในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ของประเทศไทยที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในช่วง 0.162 ถึง 0.512 สมมติฐานข้อที่ 2 พบว่าสมรรถนะด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีอิทธิพลทางตรง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ ความสามารถในการแข่งขัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 สมมติฐานข้อที่ 3 พบว่าสมรรถนะด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สมรรถนะด้านการจัดการความรู้ และ ความสามารถในการแข่งขัน มีอิทธิพลทางตรง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ ผลการดำเนินงานในการส่งออกซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์เชิงวิถี อยู่ในช่วง 0.13 ถึง 0.42 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ 0.01 และ สมมติฐานข้อที่ 4 พบว่าสมรรถนะด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีอิทธิพลทางอ้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ ผลการดำเนินงานในการส่งออกซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์เชิงวิถี อยู่ในช่วง 0.08 ถึง 0.19 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01

Article Details

How to Cite
สุพิชญางกูร น. (2016). สมรรถนะขององค์การในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เพื่อการส่งออกในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 10(2), 53–70. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/52379
Section
บทความวิจัย