แรงจูงใจและความพึงพอใจของข้าราชการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังใน การปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์กรมศุลกากร 5 ปี (2551-2555)

Main Article Content

กิตติวัฒน์ วัฒนานันทพัฒน์
ศรายุทธ โชคชัยวรรัตน์
เบญจวรรณ สร่างนิทร
สมชาย ชุณรัศมิ์

Abstract

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงข้อมูลพื้นฐานระดับแรงจูงใจและความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ปัญหาในการปฏิบัติงานและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากรในสำนักงานศุลกากรแหลมฉบัง กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ปฏิบัติงานจำนวน 300 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้สถิตใช้เป็นหาแบบ , SD สถิตที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน คือ t-test , F-test โดยมีวัตถุประสงค์งานวิจัย 1. เพื่อทำการ ศึกษาระดับแรงจูงใจของข้าราชการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ในการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์กรมศุลกากร 5 ปี (2551-2555) 2. เพื่อทำการศึกษาระดับความพึงพอใจของข้าราชการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ในการปฏิบัติ งานตามแผนยุทธศาสตร์กรมศุลกากร 5 ปี (2551-2555) 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความ พึงพอใจของข้าราชการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ในการปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์กรมศุลกากร 5 ปี (2551-2555)

ผลการศึกษาพบว่า เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นเพศชายจำนวน 160 คน มีอายุมากกว่า 30-40 ปี สถานภาพโสด รายได้ ต่อเดือนส่วนใหญ่ อยู่ที่ 10,000 – 20,000 บาท การศึกษาระดับปริญญาตรี อายุรับราชการ อยู่ 1-10 ปี และมีระดับปฏิบัติ งานในระดับเจ้าหน้าที่ ผลการวิจัยพบว่า ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการศุลกากรที่อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ด้านลักษณะงาน ( = 3.36, SD = 0.87) ด้านความก้าวหน้าในงาน ( = 3.23, SD = 0.97) และด้านรายได้และสวัสดิ์ การ ( = 3.20, SD = 0.85) จากการวิจัยยังพบว่า ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการศุลกากรที่อยู่ในระดับมาก ซึ่งได้แก่ด้านความรับผิดชอบ ( = 3.65, SD = 0.83) ด้านการยอมรับ ( = 3.57, SD = 1.09) ด้านการได้รับความสำเร็จ ในงาน ( = 3.77, SD = 0.67) ด้านนโยบายและการบริหารงาน ( = 3.54, SD = 0.80) ด้านสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหน่วยงาน ( = 3.60, S \D = 0.82) ด้านความมั่นคงในงาน ( = 3.62, SD = 0.82) ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ( = 3.40, SD = 0.77)ส่วนด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ของกรมศุลกากร 5 ปี (2551-2555) อยู่ระดับ มาก ได้แก่ ด้านการพัฒนามาตรการทางศุลกากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ ( = 3.51, SD = 0.80) ด้านการ พัฒนาศักยภาพการควบคุมทางศุลกากรด้วยมาตรฐานสากล( = 3.42, SD = 0.87) ด้านบริหารจัดการระบบจัดเก็บภาษีอากร โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ( = 3.47, SD = 0.88) ส่วนในด้านยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาระบบงานศุลกากรให้เป็น มาตรฐานโลก ( = 3.25, SD = 0.82) พบว่าความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานในด้านแรงจูงใจ พบว่า ลักษณะบุคคล เพศ อายุ สถานภาพ รายได้ การศึกษา ระดับการปฏิบัติงาน ไม่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติตาม เป้าหมายที่กรมศุลกากร ในขณะที่ อายุราชการที่ปฏิบัติงานในศุลกากรมี ผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ส่วนด้านความ พึงพอใจ พบว่า ลักษณะบุคคล เพศ อายุ สถานภาพ รายได้ การศึกษา อายุราชการที่ปฏิบัติงานในศุลกากร ไม่มีผลต่อความ พึงพอใจในการปฏิบัติงาน ในขณะที่ ระดับการปฏิบัติงานมีผลต่อความพึงใจในการปฏิบัติงาน

 

STUDY OF MOTIVATION AND SATISFACTION OF THE LAEM CHABANG PORT CUSTOMS BUREAU OFFICERS IN WORKING UNDER STRATEGY PLANS 2008-2010

Kittiwat Watthananthaphat, Sarayuth Chokechaiworarat, Benchawan Srangnitra and Somchai Choonharas

Graduate School of Commerce, Burapha University, Chon Buri 20131, Thailand

This research had the objective to look into fundamental information such as the level of work motivation and satisfaction, problem when working and work recommendations for Customs officers at Laem Chabang Port Customs Bureau. The samples were 300 Customs officers at work. The research instrument was questionnaire.

The result indicated that most of the officers were male (160 samples), older than 30 but less than 40 years of age, and single, had 10,000-20,000 Baht of monthly income, Bachelor’s degree, had been in the service for 1-10 years, and were of officer level. The Customs officers had high level of work motivation on responsibility, recognition, work achievement, policy and management, relationship with other personnel in the work unit, job security, work environment, income and welfare; and moderate level of work motivation on job characteristic and advancement. The satisfaction to execute the 5-year strategic plan of the Customs bureau (2551 B.E.-2555 B.E.) was high on improving the Customs measures to increase the competitive ability of the country, on improving the competence in Customs control using international standard, and on tax and tariffs collection system basing on the principle of good governance. The hypothesis testing on motivation revealed that the demographics of gender, age, status, income, education, and job position did not influence the samples’ motivation while years in Customs service did. And while the demographics of gender, age, status, income, education, and years in Customs service did not affect job satisfaction, job position did.

Article Details

How to Cite
วัฒนานันทพัฒน์ ก., โชคชัยวรรัตน์ ศ., สร่างนิทร เ., & ชุณรัศมิ์ ส. (2016). แรงจูงใจและความพึงพอใจของข้าราชการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังใน การปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์กรมศุลกากร 5 ปี (2551-2555). Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 8(2), 50–65. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/47413
Section
บทความวิจัย