ศึกษาสินค้าที่เหมาะสมในการจำหน่ายในหน่วยธุรกิจ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai)

Main Article Content

เพ็ญพิชชา เกษมพงษ์ทองดี
บรรพต วิรุณราช
เกียรตินิยม คุณติสุข
ชวาลา เทียนประเสริฐกิจ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของสินค้าของบริษัท จี เอส ซี จำกัด (มหาชน) ที่จะ จัดตั้งใหม่ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1) กลุ่มตัวอย่างในการสนทนากลุ่ม ได้แก่ อาจารย์ บุคลากรฝ่ายสนับสนุนวิชาการ นิสิตปัจจุบันและศิษย์เก่า ที่มีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และการบริหารธุรกิจ มีความสมัครใจในการเข้าร่วม จำนวน 26 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความในรูปของการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อสร้าง กรอบแนวคิดด้านสินค้า และ 2) กลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้เรียน ผู้อาศัยและผู้ที่ทำงานในจังหวัดชลบุรี โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 500 ชุด ได้รับแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ จำนวน 411 ชุด คิดเป็นร้อยละ 82.20 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยของตัวแปร 2 กลุ่มที่มีอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า สินค้าที่เหมาะสมในการจำหน่ายของบริษัทฯ แบ่งตามด้าน ได้ดังนี้

1. สินค้าด้านผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์กลุ่มเทคโนโลยี

2. สินค้าด้านบริการ คือ บริการด้านการท่องเที่ยวทางด้านวิชาการทั้งในและต่างประเทศ

3. สินค้าด้านทรัพย์สินทางปัญญา คือ นวัตกรรมเทคโนโลยีที่ได้รับการออกแบบ วิจัยจากนิสิต คณาจารย์ ในมหาวิทยาลัย

ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อายุ ประเภทบุคลากร พื้นฐานการศึกษา ที่แตกต่างกันมีระดับความคิดเห็น ต่อสินค้าทั้ง 3 ด้านในภาพรวมที่เหมาะสมแตกต่างกันและรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อสินค้าเฉพาะด้าน บริการภาพรวมที่เหมาะสมแตกต่างกัน

 

PRODUCTS SUITABLE TO BE SOLD AT BUSINESS UNIT (REGISTERED IN MAI) OF GRADUATE SCHOOL OF COMMERCE, BURAPHA UNIVERSITY

Penphicha Kasemphongdee, Bunpot Wiroonrath, Kiatniyom Koontisook and Chavala Tienpasertkij

Graduate School of Commerce, Burapha University, Chon Buri 20131, Thailand

The objective of this research was to analyze the attitudes of sampling people toward the effectiveness of products launched at GSC public company. This survey was conducted with 2 main sample groups. Group 1 were the selection by purposive sampling of Professor, Current students and Alumni who had fully background and knowledge about business unit at Graduate School of Commerce, Burapha University. The data were gathered through interview questionnaire from 26 volunteers. Group 2 among of sampling people in this group were the students, residents and working people who are living in Chonburi Province by using the questionnaires to collect the data from 500 papers which set of the data were reply around 82.20% (411 papers). The model was analyzed as one way ANOVA by use as hypothesis testing conceptual framework and the result of this study as follow;

1. Material goods such as group of technology product

2. Service such as Travel service especially academic program tour in both domestic and oversea

3. The Intellectual property authority such as an innovation of technology that has been generated or developed by student and instructors of the university

This study was cross – sectional analytical from sampling people who have difference in age, career, education, and attitude toward level of goods, service and the intellectual. And difference in income toward level of service.

Article Details

How to Cite
เกษมพงษ์ทองดี เ., วิรุณราช บ., คุณติสุข เ., & เทียนประเสริฐกิจ ช. (2016). ศึกษาสินค้าที่เหมาะสมในการจำหน่ายในหน่วยธุรกิจ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai). Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 8(2), 39–50. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/47399
Section
บทความวิจัย