ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างบริษัทจ้างเหมา-ช่วง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธนชัย ร้อยศรี
เสนาะ กลิ่นงาม
วิภวานี เผือกบัวขาว
นัยนา วงศ์จรรยา

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงาน และสร้างแผน ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างบริษัทจ้างเหมา-ช่วง โดยเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองเปรียบเทียบ 3 กลุ่มและวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มตัวอย่าง 302 คน ผลการวิจัยและพัฒนาพบว่า กลุ่มประชากรมีปัญหาคุณภาพชีวิต การทำงานใน 3 ด้านคือ ด้านค่าตอบแทนที่ไม่เพียงพอ ด้านสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและไม่ส่งเสริมสุขภาพ และ ด้านขาดความเข้าใจในสิทธิของลูกจ้าง ผลการวิเคราะห์ตามสมมติฐานของการวิจัย พบว่าลูกจ้างกลุ่มทดลอง ก่อนการทดลอง ใช้ยุทธศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพชีวิตการทำงานในระดับน้อย หลังการทดลอง พบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพชีวิต ในระดับมาก และเมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้าง พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= -4.325) จึงมีเหตุผลที่จะสรุปได้ว่ายุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานที่นำมาทดลอง สามารถใช้พัฒนาคุณภาพ ชีวิตการทำงานของลูกจ้างได้ ซึ่งยอมรับสมมติฐานข้อที่ 1 ของการวิจัย

และจากผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อกิจกรรมการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ในภาพรวมของกลุ่ม ทดลอง ก่อนการทดลองใช้ยุทธศาสตร์ พบว่ามีค่าเฉลี่ยพึงพอใจในระดับปานกลาง หลังการทดลองใช้ยุทธศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย ระดับคุณภาพชีวิตในระดับมาก และเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจต่อกิจกรรมการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= -4.661) จึงมีเหตุผล ที่จะสรุปได้ว่ายุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานสามารถนำมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างได้ ซึ่งยอมรับสมมติฐานข้อที 2 ของการวิจัย

 

THE STRATEGIES TO IMPROVE THE QUALITY OF THE WORK LIFE OF SUB-CONTRACT OF PROVINCIAL ELECTRICITY AUTHORITY (PEA) AT THE REGIONAL HEADQUARTERS, BANGKOK

Thanachai Roisri1, Sanor Klingam2, Wipavanee Phueakbuakhao3 and Naiyana Wongchanya4

1Labor union, Provincial Electricity Authority, Headquarters, Bangkok 10900, Thailand

2Faculty of Management Science, Phetchaburi Rajabhat University, Phetchaburi 76000, Thailand

3Faculty of Humanities and Social Science, Phetchaburi Rajabhat University, Phetchaburi 76000, Thailand

4Faculty of Management Science, Phranakhon Rajabhat University, Bangkok 10220, Thailand

The research aims to 1) study quality of the working life of the sub-contract in Provincial Electricity Authority at Regional Headquarters, Bangkok by reality 2) to create development strategy plan for quality of working life for sub-contract. The research design were quasi-experimental research by compare with three groups. The population were the sub-contract in Provincial Electricity Authority at Regional Headquarters, Bangkok. The samples 302 persons were selected. The questionnaire was employed to gather data which was analyzed by percentage, mean ( ), standard deviation(S.D.), t-test and one-way ANOVA at significantly level 0.05.

The findings revealed that

1. The overall quality of life of worker of the Provincial Electricity Authority Headquarters, Bangkok was some problem, 3 factors; reasonably equitable remuneration, unsafe workplace and lack of right understanding.

2. The result of hypothesis testing found that the experimental group before treatment had a few quality of life by after treatment had increase quality of life. In sum, the development strategy was suitable for applying in promote for quality working of workers.

3. The satisfaction of development strategic plan for working quality before treatment had fair level, but after treatment, there had more satisfy than before treatment. The comparison of satisfaction of development strategy plan for working quality of workers were significantly difference at 0.05 In sum, development strategy designed for

Article Details

How to Cite
ร้อยศรี ธ., กลิ่นงาม เ., เผือกบัวขาว ว., & วงศ์จรรยา น. (2016). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างบริษัทจ้างเหมา-ช่วง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 8(2), 29–38. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/47390
Section
บทความวิจัย