การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษา

Main Article Content

ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์

Abstract

การเขียนบทความทางวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษา นักท่องเที่ยวมาใช้บริการตรวจสุขภาพ ทันตกรรม ศัลยกรรมตกแต่งความงาม และ ศัลยกรรมแปลงเพศ แรงจูงใจ ทางการท่องเที่ยวเชิงเชิงบำบัดรักษาด้านปัจจัยผลักดัน คือ พักผ่อนและผ่อนคลายทางร่างกายและจิตใจ ฟื้นฟูร่างกาย ให้แข็งแรง ให้ร่างกายให้เกิดความสมดุล พัฒนาอุปนิสัยการใช้ชีวิตอย่างถูกสุขอนามัย และเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ที่เกิดขึ้น ส่วนแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาด้านปัจจัยดึงดูด คือ อัตราค่าบริการต่ำ บุคลากร มีความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะเกี่ยวกับสุขภาพ และประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการแพทย์เอเชีย ดังนั้นประเทศไทยจึงควรนำเสนอกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์โดยเน้นถึงความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์และ ความทันสมัยของเทคโนโลยีเพื่อสร้างความแตกต่างจากประเทศคู่แข่งขัน ผู้ประกอบการจากธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถานรักษาพยาบาลจะต้องมีความทันสมัยในการจัดหาอุปกรณ์ สถานบริการสะอาดและเป็นระเบียบ จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครบครัน ควรสร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับ และควรอบรมพนักงานให้มีความรู้ ความชำนาญในศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและจิตวิทยาในการบริการ ผู้ประกอบการโรงแรม ควรกำหนด กลยุทธ์การบริการสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เฉพาะโดยประสานงานกับสถานพยาบาลและบริษัทนำเที่ยว ในการกำหนดช่วงเวลาในการบำบัดรักษา การท่องเที่ยวก่อนหรือหลังการรักษา


DEVELOPMENT OF MEDICAL TOUSISM

Sarunya Lertputtharak

Graduate School of Commerce, Burapha University, Chon Buri 20131, Thailand

This article aims to describe motivations of tourists who come to Pattaya, Chonburi, for healing their health. Majority of tourists used health check-up, dental care, beauty surgery, and sex reassignment surgery services. Physical and mental rest and relaxation, rebalance of body, development of healthy-living habits, and illness prevention were among the push factors motivating them to travel to Pattaya. While the important pull motivation factors were low cost of services and talent as well as expertise of personnel in healthcare services. Therefore, Thailand should promote expertise of doctors and innovative equipment in order to differentiate from competitors. Hospitals should provide modern equipment, hygiene service, sufficient facilities, and above standard treatments. Doctors, nurses, and other staff should have health healing skills as well as service mind. Hotel service providers should have specific strategies for serving niche market by coordinating with hospitals and tour agencies to design suitable tourism packages for both before and after treatments.

Article Details

How to Cite
เลิศพุทธรักษ์ ศ. (2016). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษา. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 8(2), 1–13. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/47384
Section
บทความวิชาการ