สมรรถนะของผู้จัดการบริษัทธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทยและสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะหลัก สมรรถนะทั่วไป สมรรถนะผู้จัดการและแนวทางในการพัฒนา สมรรถนะผู้จัดการของบริษัทธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้วิธีการวิจัย เชิงคุณภาพด้วยโปรแกรม ATLAS ti 5.0 เพื่อทำการศึกษาในครั้งนี้ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแบ่งได้เป็น ผู้เชี่ยวชาญ ในตำแหน่งอาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาการท่องเที่ยวในประเทศไทยจำนวน 4 ท่านและผู้จัดการบริษัทธุรกิจนำเที่ยวใน ประเทศไทยจำนวน 10 ท่าน ส่วนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในตำแหน่งอาจารย์ ผู้สอนสาขาวิชาการท่องเที่ยวจำนวน 3 ท่าน ผู้จัดการบริษัทธุรกิจนำเที่ยวจำนวน 5 ท่านและเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ด้านการท่องเที่ยวจำนวน 3 ท่าน
ผลการศึกษาพบว่าผู้เชี่ยวชาญในตำแหน่งอาจารย์ผู้สอน ผู้จัดการบริษัทธุรกิจนำเที่ยว และเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะหลักว่า เรื่องของการรักและมีความภูมิใจในการทำงานมากที่สุด ส่วนสมรรถนะทั่วไปจะเป็นเรื่องของการเข้าถึงและการใช้ข้อมูล จากคอมพิวเตอร์มากที่สุด ซึ่งสมรรถนะผู้จัดการจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับบทบาทในการนำและการจัดการบุคลากรมากที่สุด รวมไปถึงแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะที่ต่างเห็นว่าเรื่องของการพัฒนาด้านการเปลี่ยนแปลงมีความสำคัญมากที่สุด
A COMPARATIVE CASE STUDY: MANAGERS’ PERFORMANCE IN THAI AND LAOS (PDR.) TRAVEL AGENTS
Chaiyong Chaijaroentaweekit and Krit Jarintho
Graduate School of Commerce, Burapha University, Chon Buri 20131, Thailand
The research aimed to study core performance and general performance of travel agent’s managers in order to be used as a guideline for developing their performance both in Thailand and in Laos (PDR). Qualitative research was used The sample size were 4 specialists who lecture in tourism and 10 managers of tourism company in Thailand; 3 specialists who lecture in tourism, 5 managers of tourism company and 3 government officials in Laos (PDR)
The statistics used were neural network. The findings revealed that for Thailand, it was suggested that organizational culture be developed and be focused the most. For Laos (PDR), it was suggested that the coordination be developed. It was suggested that the results of the study be implemented for the benefits of the organization or be used as the guideline to develop or increase the performance of the travel agent’s managers so that they can compete with those of other countries in ASEAN region or in the world.
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.