สร้างรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน

Main Article Content

ธนชัย ร้อยศรี
เสนาะ กลิ่นงาม
วิภวานี เผือกบัวขาว
นัยนา วงศ์จรรยา

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศกึ ษาสภาพความเป็นจริงเกีย่ วกับคุณภาพชีวิตการทำงานของลกู จ้างบริษัท รับจ้างเหมา-ช่วงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อสร้างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา คุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างบริษัทรับจ้างเหมา-ช่วงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อสร้างรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างบริษัทรับจ้างเหมา-ช่วงของการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองเปรียบเทียบ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าสภาพความเป็นจริงของกลุ่มประชากรมีปัญหาคุณภาพชีวิตการทำงานใน 3 ด้านคือ ค่าตอบแทน ที่ไม่เพียงพอ สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยไม่ส่งเสริมสุขภาพ และขาดความเข้าใจในสิทธิของลูกจ้าง ผลการวิเคราะห์พบว่า ลูกจ้างกลุ่มทดลอง ก่อนการทดลองใช้ยุทธศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพชีวิตการทำงานในระดับน้อย หลังการทดลอง พบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพชีวิตในระดับมาก และเมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้าง พบว่าแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= -4.325) จึงมีเหตุผลที่จะสรุปได้ว่ายุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน ที่นำมาทดลอง สามารถใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างได้ ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อกิจกรรม การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ในภาพรวมของกลุ่มทดลอง ก่อนการทดลองใช้ยุทธศาสตร์ พบว่ามีค่าเฉลี่ยพึงพอใจในระดับ ปานกลาง หลังการทดลองใช้ยุทธศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพชีวิตในระดับมากและเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับ ความพึงพอใจต่อกิจกรรมการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างพบว่าแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= -4.661) จึงมีเหตุผลที่จะสรุปได้ว่ายุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน สามารถนำมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างได้

 

SUITABLE MODEL TO IMPROVE THE QUALITY OF WORKING LIFE

Tanachai Roisri1, Sanor Klinngam2, Wipawanee Phuakbuakhao3 and Naiyana Wongjanya4

1Provincial Electricity Authority State Enterprise Labour Union, Bangkok 10900, Thailand

2Faculty of Management Sciences, Phetchaburi Rajabhat University, Phatchaburi, 76000, Thailand 

3Faculty of Humanities and Social Sciences, Phatchaburi Rajabhat University, Phatchaburi, 76000, Thailand

4Faculty of Management Sciences, Phranakhon Rajabhat University, Bangkok,10220, Thailand

This research aimed to 1) examine the reality of the quality of working life of employees of the subcontractor company working for Provincial Electricity Authority(PEA) Headquarters in Bangkok, 2) to create a strategic plan to improve the quality of working life of employees of the subcontractor company working for the headquarters of the PEA in Bangkok, and 3) to establish a suitable model to improve the working lives of the employees of the subcontractor company working for the headquarters of the PEA. Bangkok. The study was the quasi trial and qualitative research. The findings revealed that in the reality of the working condition of the population, there were three problems: inadequate compensation, unsafe and unhealthy working conditions, and the lack of understanding of the rights of the employees. The results from the data analysis showed that before the trial using the strategic plan to improve the quality of working life, the employees who were in the experimental group had low level of quality of working life. After the trial using strategic plan the employees who were in the experimental group had high level of quality of working life. When there was the comparison between quality of working life before and after the trial of the strategic plan, there were the differences at the statistical significance level of .05 (t= -4.325). Consequently, it could be concluded that the strategic plan which was used in the experiment could be used to improve the employees’ quality of working life. From the analysis of the means between the satisfaction with the activities of the strategic plan before and after the trial, it was found that before the trial the employees had only moderate level of satisfaction. On the other hand, after the trial using the strategic plan, the employees had high level of the overall quality of working life and the satisfaction with the activities of the strategic plan was found different at the statistical significance level of .05(t= -4.661). It was reasonable to conclude that the strategic plan to improve the quality of working life could be used to improve the quality of working life of the employees.

Article Details

How to Cite
ร้อยศรี ธ., กลิ่นงาม เ., เผือกบัวขาว ว., & วงศ์จรรยา น. (2016). สร้างรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 10(1), 79–90. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/47083
Section
บทความวิจัย