ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นแบบครอบครัวกับอัตราผลตอบแทนเริ่มแรกของหุ้นที่เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก

Main Article Content

เพ็ญพิชชา รัตนจริยาคุณ
พงศ์พรต ฉัตราภรณ์

บทคัดย่อ

              การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นแบบครอบครัวกับอัตราผลตอบแทนเริ่มแรกของหุ้นที่เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก โดยใช้ข้อมูลจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงปี  2554 - 2563 จำนวนทั้งสิ้น 89 ตัวอย่าง


             ผลการศึกษาพบว่าบริษัทที่เสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกในประเทศไทยมีลักษณะโครงสร้างผู้ถือหุ้นแบบครอบครัว โดยคิดเป็นร้อยละ 80.18 ของหุ้นทั้งหมด โดยมีอัตราผลตอบแทน ณ วันแรกที่มีการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 23.92 ผลการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธีสมการถดถอยพหุคูณพบว่าสัดส่วนผู้ถือหุ้นที่เป็นครอบครัวมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญกับอัตราผลตอบแทนเริ่มแรกของหุ้นที่เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ในขณะที่สัดส่วนจำนวนหุ้นที่ขายต่อประชาชนและขนาดของบริษัทมีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลตอบแทนเริ่มแรกของหุ้นที่เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า หากนักลงทุนต้องการผลตอบแทนระยะสั้นจากหุ้นที่มีการเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก นักลงทุนควรลงทุนในหุ้นที่มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นแบบครอบครัวในสัดส่วนที่สูง หรือมีจำนวนหุ้นที่ขายต่อประชาชนในสัดส่วนที่ต่ำ รวมถึงลงทุนในบริษัทที่มีขนาดใหญ่

Article Details

How to Cite
รัตนจริยาคุณ เ., & ฉัตราภรณ์ พ. (2022). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นแบบครอบครัวกับอัตราผลตอบแทนเริ่มแรกของหุ้นที่เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 17(1), 147–162. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/251089
บท
บทความวิจัย
Author Biography

พงศ์พรต ฉัตราภรณ์, Faculty of Commerce and Accountancy; Chulalongkorn University

Assistant professor