FACTOR OF WORKING MOTIVATION AFFECTIVE EMPLOYEE LOYALTY: A CASE STUDY OF AN ELECTRIC COMPANY IN LAEM CHABANG INDUSTRY ESTATE, CHONBURI PROVINCE

Main Article Content

Julaluk Issarangkun na ayutaya
Jumpoth Boriraj

Abstract

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายในและภายนอก 2. ศึกษาระดับความจงรักภักดีต่อองค์การ 3. ศึกษาอิทธิพลระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายในกับความจงรักภักดี 4. ศึกษาอิทธิพลระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายนอกกับความจงรักภักดี 5. ศึกษาอิทธิพลระหว่างแรงจูงในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายในและภายนอกกับความจงรักภักดี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ พนักงานในบริษัทอิเลคทรอนิกส์แห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการศึกษาคือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


               ผลการศึกษาพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายใน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย (gif.latex?\chi = 4.00) โดยด้านความรับผิดชอบและด้านความสําเร็จในงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ลำดับถัดมาคือ การยกย่องและยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ท้าทาย และด้านความก้าวหน้าในอาชีพตามลำดับ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายนอกมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย (gif.latex?\chi = 3.75) โดยด้านความปลอดภัยในการทำงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ลำดับถัดมาคือ ด้านสวัสดิการ ด้านเงินเดือน ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านโบนัสและค่าจ้างทํางานล่วงเวลาตามลำดับ ความจงรักภักดีต่อองค์การมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย (gif.latex?\chi = 3.66) โดยด้านความรู้สึกมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ลำดับถัดมาคือ ด้านการรับรู้และด้านพฤติกรรมตามลำดับ    2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายใน ประกอบด้วย ในด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ลักษณะของงานที่ท้าทาย ความรับผิดชอบมีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุดคือด้านความก้าวหน้าในอาชีพ 3) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายนอก ประกอบด้วย ด้านนโยบายและการบริหาร เงินเดือน ความปลอดภัยในการทำงาน สวัสดิการ โบนัสและค่าจ้างทํางานล่วงเวลามีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุดคือด้านนโยบายและการบริหาร

Article Details

How to Cite
Issarangkun na ayutaya , J., & Boriraj, J. (2021). FACTOR OF WORKING MOTIVATION AFFECTIVE EMPLOYEE LOYALTY: A CASE STUDY OF AN ELECTRIC COMPANY IN LAEM CHABANG INDUSTRY ESTATE, CHONBURI PROVINCE. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 16(2), 58–70. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/247110
Section
บทความวิจัย