รูปแบบการเรียนรู้ระบบการตลาดและการขายแบบง่ายเพื่อประชาชนท้องถิ่นไทย

Main Article Content

กชพร นรมาตย์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบประสานวิธีมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนรู้ระบบการตลาดและการขายแบบง่าย เพื่อประชาชนท้องถิ่นไทยผ่านกระบวนการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative research)โดยการสังเคราะห์วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และด้วยกระบวนการสนทนากลุ่ม (Focus group) กับกลุ่มตัวอย่างผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการตลาด นักการขาย และผู้อำนวยการพื้นที่มูลนิธิชัยพัฒนา จำนวน 9 คน ขั้นที่ 2 วิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action research) โดยการขายลำใยปลอดสารพิษ จำนวน 2 ปี ด้วยวรรณกรรมการขายแบบง่ายที่ค้นพบ ขั้นที่ 3การวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action research)โดยกระบวนการวัดระดับความเข้าใจด้านการตลาดและการขายกับกลุ่มตัวอย่าง ด้วยการพูดอธิบายและให้กลุ่มตัวอย่างตอบคำถาม จำนวน 6 กลุ่ม แบ่งเป็น 5 ภาค 1) กลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ  2) กลุ่มเกษตรกรภาคกลาง 3) กลุ่มเกษตรกรภาคตะวันออก 4) กลุ่มเกษตรกรภาคใต้ 5) กลุ่มเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 120 คนเครื่องมือเป็นรูปแบบข้อคำถามที่ได้จากวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) จากกระบวนการสนทนากลุ่ม (Focus group) จากการวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสรุปทดลองขายลำใยปลอดสารพิษ จำนวน 2 ปี


ผลการศึกษาทั้ง 3 ขั้นตอนพบว่า รูปแบบคู่มือการเรียนรู้ระบบการตลาดและการขายแบบง่าย เพื่อประชาชนท้องถิ่นไทย ควรมีเนื้อหาประกอบไปด้วยแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการตลาดและการขายแบบง่ายสำหรับประชาชนท้องถิ่นไทย จำนวน 2 ชุด รวมทั้งหมด11 เรื่อง ได้แก่ ข้อมูลชุดที่ 1) ด้านสินค้า 2) ด้านราคา 3) ด้านสถานที่จำหน่ายสินค้า 4) ด้านวิธีการกระตุ้นให้เกิดการสนใจและการตัดสินใจซื้อสินค้าและกลับมาซื้อซ้ำ ข้อมูลชุดที่ 2 ได้แก่ 1) ต้องกำหนดว่าควรขายสินค้าให้ใคร 2) การสร้างความแตกต่าง 3) วิธีการให้คนจดจำสินค้า4) การเปิดใจผู้ซื้อ 5) การปิดการขาย 6) การให้ความสนใจทุกคนที่อยู่รอบสินค้าหรือผลผลิต เช่น สมาชิกครอบครัว เพื่อนบ้าน คนที่มารับสินค้าไปขาย ร้านค้า ผู้นำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันในด้านที่ดี และ 7) การคำนึงถึงที่มาของวัตถุดิบที่มีคุณภาพ คือ “ต้นน้ำ” การคำนึงถึงกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพ คือ “กลางน้ำ” และการตลาด การขาย คือ ”ปลายน้ำ” สำหรับแนวทางการนำแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการตลาดและการขายแบบง่าย ไปใช้กับประชาชนท้องถิ่นไทย สามารถแบ่งระดับในการนำไปใช้กับประชาชนท้องถิ่นไทยเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ใช้ข้อมูลชุดที่ 1สำหรับประชาชนที่ไม่เคยขายสินค้า จะทำให้สามารถขายสินค้าเป็น และกลุ่มที่ 2 ใช้ข้อมูลชุดที่ 2 สำหรับประชาชนที่ขายสินค้าเป็นประจำ จะทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้น

Article Details

How to Cite
นรมาตย์ ก. (2019). รูปแบบการเรียนรู้ระบบการตลาดและการขายแบบง่ายเพื่อประชาชนท้องถิ่นไทย. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 13(2), 110–120. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/165155
Section
บทความวิจัย