การพัฒนาหลักเกณฑ์และกระบวนการการคัดเลือกนายทหารฝ่ายการเงินที่ส่งผลต่อความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติหน้าที่
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาพฤติกรรมที่ส่งผลต่อความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติหน้าที่นายทหารฝ่ายการเงินเพื่อพัฒนาหลักเกณฑ์และกระบวนการการคัดเลือกนายทหารฝ่ายการเงินที่ส่งผลต่อความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติหน้าที่ ใช้วิธีการวิจัย แบบผสมผสาน (Mixed methodology) ดำเนินการวิจัยขั้นแรกเทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) กับ นายทหารสัญญาบัตรเหล่าการเงิน มีอำนาจเซ็นอนุมัติวงเงินมากกว่า 50 ล้านบาทต่อปี และอายุการทำงานในสถานที่ทำงานปัจจุบันไม่เกิน 3 ปี ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive selection ) และ เทคนิคการบอกต่อ (Snowball sampling) จำนวน 18 คน ขั้นที่สองสร้างแบบทดสอบพฤติกรรม กับ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักทางด้านจิตวิทยา มีประสบการณ์การสอนวิชาจิตวิทยา 10 ปีขึ้นไป ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และ เทคนิคการบอกต่อ จำนวน 5 คน โดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม ขั้นที่สามทดสอบแบบทดสอบพฤติกรรม กับ กำลังพลในกรมการเงินทหารบก ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 205 คนโดยใช้แบบสอบถาม ขั้นที่สี่สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียในการคัดเลือกนายทหารสัญญาบัตรใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และ เทคนิคการบอกต่อ จำนวน 3 คน
ผลการศึกษาในขั้นแรกผู้เชียวชาญได้วิเคราะห์ร่วมกันพบว่าพฤติกรรมที่ส่งผลต่อความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติหน้าที่นายทหารฝ่ายการเงิน มี 7 ด้านดังนี้ ด้านปัจเจกบุคคล ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม ด้านกฎหมายกฎระเบียบข้อบังคับ ด้านการทำงาน และ ด้านจิตวิทยา ในขั้นที่สอง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักทางด้านจิตวิทยาพัฒนาเครื่องมือเป็นแบบทดสอบร่วมกันโดยด้านปัจเจกบุคคล ประกอบด้วย กาย วาจา ใจ ด้านสังคม ประกอบด้วย เพื่อนร่วมงาน องค์กร ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย กำลังพล เพื่อนร่วมงาน องค์กร ด้านวัฒนธรรม ประกอบด้วย กำลังพล องค์กร ด้านกฎหมายกฎระเบียบข้อบังคับ ประกอบด้วย กำลังพล องค์กร ด้านการทำงาน ประกอบด้วย กำลังพล องค์กร และ ด้านจิตวิทยา ประกอบด้วย กำลังพล ผู้ร่วมงาน องค์กร ขั้นที่สาม ด้านพฤติกรรม พบว่าด้านปัจเจกบุคคล กำลังพลแสดงออกโปร่งใส ชัดเจน ต่อผู้บังคับบัญชา, ผู้ใต้บังคับบัญชา มากที่สุด กำลังพลพูดตรงกับการกระทำ มาก กำลังพลมีความรักเกียรติศักดิ์ศรีของทหารเหล่าการเงิน มากที่สุด ด้านสังคม เพื่อนร่วมงานมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย มากที่สุด องค์กรมีผู้บังคับบัญชาให้กำลังใจที่ดีในการทำงาน มาก ด้านเศรษฐกิจ กำลังพลยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง มาก ผู้ร่วมงานไม่มีความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ปานกลาง องค์กรมีระบบสวัสดิการเป็นที่พอใจ มาก ด้านวัฒนธรรม กำลังพลทำตามวัฒนธรรมสังคมที่ดี มากองค์กร มองว่าการทุจริตเป็นเรื่องปกติ น้อย ด้านกฎหมายกฎระเบียบข้อบังคับ กำลังพลไม่ทำตามหลักฐานการรับจ่าย น้อยที่สุด องค์กรมีกฎหมายชัดเจน มากที่สุด ด้านการทำงาน กำลังพลมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่มากที่สุด องค์กรดูแลเอาใจใส่สม่ำเสมอ มาก และ ด้านจิตวิทยา กำลังพลมีความเกรงใจผู้บังคับบัญชา มากที่สุด ผู้ร่วมงานมีความจริงใจ มากที่สุด องค์กรปลูกฝั่งวัฒนธรรมองค์กรที่ดี มากที่สุด ขั้นที่สี่พบว่าการพัฒนาหลักเกณฑ์เชิงนโยบาย คือ 1) ผลการพิจารณาการมีหนี้สิน การปฎิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 2) การแสดงพฤติกรรมความรับผิดชอบการช่วยเหลือหมู่คณะด้วยความจริงใจก่อให้เกิดความสามัคคี และ การยอมรับของผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา 3) ผลการปฏิบัติงานด้านการเงินการบัญชีจากการตรวจสอบโดย สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบกย้อนหลัง 3 ปี และ ไม่มีคดีทุจริตเกี่ยวกับเงินราชการ
จากการศึกษาพบว่าองค์กรทหารเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับสายการบังคับบัญชา และ ตัวผู้บังคับบัญชาเป็นสำคัญ ความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ มีการควบคุม ติดตามที่ดี ส่งผลถึงความซื่อสัตย์ในการทำงานได้ การนำเอาหลักเกณฑ์และกระบวนการการคัดเลือกนายทหารฝ่ายการเงิน มาใช้เชิงนโยบายทำให้ สร้างแนวทางพัฒนาคุณธรรมศีลธรรม แนวทางการดำเนินชีวิตของกำลังพล และ ลดความเสียหายเรื่องการทุจริตในอนาคต ข้อเสนอแนะ ควรมีสายการบังคับบัญชาที่สั้น ช่วยส่งผลให้นโยบายด้านการเงินถูกต้อง รวดเร็ว และการสอดส่องพฤติกรรมสามารถแก้ไขปัญหาการทุจริตได้ทันที การปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ไม่มีหนี้สิน มีเงินออม มีการช่วยเหลือจากครอบครัวทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน การมีผู้บังคับบัญชาที่กำเนิดจากสายการเงินโดยตรงช่วยให้ทราบถึงปัญหา ความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นอย่างดี แนวทางการคัดเลือกนายทหารการเงินรูปแบบใหม่คัดเลือกจาก ผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งบทลงโทษการรับผิดคดีทางด้านการเงินไม่มีการหมดอายุความ จัดตั้งกองทุนสร้างเสริมความซื่อสัตย์สนับสนุนกิจกรรม รางวัล มีการประกาศถึงพฤติกรรมที่ซื่อสัตย์ และพฤติกรรมทุจริตของนายทหารการเงิน แนวทางในการศึกษาวิจัยต่อ คือ การนำตัวแปรด้านอื่น ๆ ที่มีความแตกต่างนอกเหนือจากผลการวิจัยในครั้งนี้มาปรับใช้กับนายทหารเหล่าอื่น ๆ
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.