การศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมไทย-มาเลเซียต่อการยอมรับการทำงานของสตรีในอุตสาหกรรมยานยนต์

Main Article Content

สุธรรมมา ธรรมโร
บรรพต วิรุณราช
ธีทัต ตรีศิริโชติ

Abstract

ปัจจุบันทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญอย่างมากกับการส่งเสริมความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรี มีความพยายามอย่างจริงจังที่จะลดช่องว่างระหว่างเพศ การศึกษาวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมของไทยและมาเลเซียที่มีส่วนส่งเสริมการทำงานของสตรีในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยการสังเกตการณ์ด้วยตนเองในภาคสนาม (participate observation) ในโรงงานประกอบรถยนต์ในประเทศมาเลเซียและประเทศไทย รวมระยะเวลา 48 เดือน จากนั้น ได้สัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนผู้บริหารและตัวแทนพนักงานที่ทำงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งในมาเลเซียและไทยจำนวน 40 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว และมีค่า IOC อยู่ที่ 1.0


ผลการศึกษาพบว่า มาเลเซียจะให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมด้านศาสนาสูงมาก มีความเชื่อและปฏิบัติตามหลักปฏิบัติทางศาสนาอย่างเคร่งครัด ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบจากการละมาด การถือศีลอด มีอาการง่วงนอน เหนื่อยล้า สมองไม่โปร่งใส มีอาการป่วยและลาป่วยบ่อย สตรีส่วนใหญ่ไม่สามารถทำงานล่วงเวลาได้ เพราะมีภาระหน้าที่หลักในการดูแลครอบครัว มาเลเซียจะให้ความสำคัญกับผู้ชาย โดยยอมรับและส่งเสริมผู้ชายเป็นผู้นำในการทำงาน ผู้นำทางสังคมและผู้นำครอบครัว ทั้งนี้ พนักงานชายเชื้อสายมุสลิมจะได้รับโอกาสในการทำงานและการเติบโตขึ้นเป็นผู้บริหารในการทำงานทุก ๆ ระดับ ในขณะที่สตรีที่ทำงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ประเทศไทยได้รับความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และไม่พบการกีดกันทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนาและการศึกษา ขึ้นอยู่กับความรู้ ทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ทำงานของแต่ละบุคคล อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีการผลักดันนโยบายเรื่องความหลายหลาย มุ่งส่งเสริมให้ทุกองค์การให้ความสำคัญ และรับพนักงานสตรีเข้าทำงานเพิ่มมากขึ้น

Article Details

How to Cite
ธรรมโร ส., วิรุณราช บ., & ตรีศิริโชติ ธ. (2018). การศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมไทย-มาเลเซียต่อการยอมรับการทำงานของสตรีในอุตสาหกรรมยานยนต์. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 13(1), 177–190. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/131538
Section
บทความวิจัย