รูปแบบการพัฒนาสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

Main Article Content

พิชญ์วีร์ พลพานิชย์

Abstract

การศึกษารูปแบบการพัฒนาสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาวิธีการและรูปแบบการพัฒนาการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และ(2) เพื่อศึกษาวิธีการการพัฒนาที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ขอขึ้นทะเบียนที่จะได้มีวิธีการขึ้นทะเบียนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงให้ผู้ที่ขอขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้ว มีวิธีการที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์สูงสุด


                ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ประกอบด้วย 5 ด้าน ซึ่งเรียงตามลำดับความสำคัญ คือ วิธีการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  ความสนใจขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  ปัจจัยที่ทำให้ขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำเร็จ ปัญหาอุปสรรคการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  ซึ่งการพัฒนาสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน ส่งผลต่อรูปแบบการพัฒนาสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 3 ด้าน ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดนโยบายพัฒนาการส่งเสริมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ การพัฒนากระบวนการวิธีการและรูปแบบการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และการสนับสนุนหลังการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยรูปแบบการพัฒนาสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ทั้ง 3 ด้าน มีปัจจัยแวดล้อมสำคัญของการพัฒนาประกอบด้วยดังนี้ (1) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้มีการคุ้มครองที่ครอบคลุม (2) ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อย่างถ่องแท้ก่อนการขึ้นทะเบียน (3) ใช้กระบวนการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยใช้นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ (4) สร้างกระบวนการตรวจสอบคุณภาพสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภายในกลุ่มให้เป็นมาตรฐานและยั่งยืน (5) สร้างระบบตรวจสอบควบคุมคุณภาพสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อย่างมีมาตรฐานสากล  (6) ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้มากขึ้นและแพร่หลาย (7) ส่งเสริมให้ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์พัฒนาตนเอง พัฒนากลุ่มให้มีความเข้มแข็งและรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น  (8) ส่งเสริมให้พัฒนาสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ให้มากที่สุด และ(9 ส่งเสริมให้ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่มีศักยภาพนำสินค้าไปขึ้นทะเบียนในต่างประเทศ                                                            

Article Details

How to Cite
พลพานิชย์ พ. (2018). รูปแบบการพัฒนาสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 13(1), 97–112. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/131530
Section
บทความวิจัย