รูปแบบและการจัดการตลาดความรู้ทางธุรกิจเคลื่อนที่เพื่อประชาชน กรณีศึกษา เทศบาลตำบลมะกอกเหนือและตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพร้อมของชุมชนต่อการพัฒนาพื้นที่ ด้านการจัดการตลาดความรู้ทางธุรกิจเคลื่อนที่สำหรับประชาชน ตามแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเทศบาลตำบลมะกอกเหนือและตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ระเบียบวิธีวิจัยใช้ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารราชาการที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ โครงการขอใช้ที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา ในพื้นที่ของเขตเทศบาลตำบลมะกอกเหนือและตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ซึ่งมาจาก หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน กลุ่มธุรกิจชุมชน และกลุ่มองค์กรชุมชนท้องถิ่น ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัย ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) โดยผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ในการสัมภาษณ์ แบบเชิงลึก (In-depth interview) จำนวน 31 คน ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการของจังหวัดพัทลุงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน 5 คน และนายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าราชการส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และผู้นำองค์กรชุมชนท้องถิ่น พื้นที่ละ 13 คน การสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 30 คนประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกเทศบาล สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่ของเทศบาล เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาชุมชน กลุ่มธุรกิจชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน พื้นที่ละ 15 คน
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของชุมชนต่อการพัฒนาพื้นที่ ในด้านรูปแบบและการจัดการตลาดความรู้ทางธุรกิจเคลื่อนที่เพื่อประชาชน ประกอบด้วย 10 ปัจจัย ได้แก่ 1. ด้านศักยภาพของทุนชุมชน 2. ด้านการบริหารและการจัดการชุมชน 3. การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ 4. ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม 5. แกนนำของชุมชน 6. การรวมกลุ่มขององค์กรชุมชน 7. การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชุมชน 8. ภาคีเครือข่ายและหน่วยงานสนับสนุน 9. การจัดการการเรียนรู้ของชุมชน และ 10. การสื่อสารชุมชน
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.