รูปแบบการสอนทักษะการปฏิบัติในงานตัดเย็บด้วยกิจกรรมหมอนแฟนซี สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย

Authors

  • จรัสศรี พัวจินดาเนตร

Keywords:

รูปแบบการสอน, ทักษะการปฎิบัติงาน, งานตัดเย็บ, TEACHING MODEL, PERFORMANCE SKILL, SEWING WORK

Abstract

             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนทักษะปฎิบัติในงานตัดเย็บของใช้ในบ้านด้วยกิจกรรม เรื่องหมอนแฟนซี สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนในวิชางานตัดเย็บของใช้ในบ้าน วิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) แบบ Pretest-Posttest Control Group Design) ตัวอย่างวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2557 ที่ลงเรียนในวิชางานตัดเย็บของใช้ในบ้านจำนวน 60 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการปฎิบัติงาน แบบสังเกต แบบบันทึกพฤติกรรมผู้เรียนเป็นรายบุคคลและแบบสอบถามเกี่ยวกับเจตคติต่อการเรียนในวิชางานตัดเย็บของใช้ในบ้านด้วยกิจกรรมหมอนแฟนซี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t-test) และวิเคราะห์ค่าทีแบบเป็นอิสระต่อกัน (independent t-test)

            นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฎิบัติในงานตัดเย็บของใช้ในบ้านด้วยกิจกรรม เรื่อง หมอนแฟนซี หลังการทดลอง พบว่า (1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนในงานวิชางานตัดเย็บของใช้ในบ้านสูงกว่าก่อนการทดลอง และ (2) นักเรียนได้เห็นคุณค่าต่อการทำงานตัดเย็บของใช้ในบ้านสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05

 

           effect of using the performance skill teaching model with a fancy pillow activity on the learning achievements and attitude in studying sewing work skill practices for upper elementary students of Chulalongkorn University Elementary Demonstration School. The study applied the pretest-posttest control group design. The group sample consisted of 5th grade students having the quantity of 60 who were studying sewing work skills, year of 2014. The methods for data collection and evaluation were (1) the questionnaire concerning the attitude toward sewing work skill practices with the fancy pillow activity, (2) the test for learning achievement, (3) the evaluation for work practice skill, and (4) the observation and record for the individual learner’s behavior. The data were analyzed using dependent t-test and independent t-test.

            It was found that the sample students after learning with the performance skill teaching model with fancy pillow activity (1) had higher learning achievement and better attitude toward sewing work skill practices than before the treatment, and (2) the students showed remarkably high appreciation for the value of household sewing work at a statistically significant level (a) of 0.05.  

Downloads

Published

2016-11-28

How to Cite

พัวจินดาเนตร จ. (2016). รูปแบบการสอนทักษะการปฏิบัติในงานตัดเย็บด้วยกิจกรรมหมอนแฟนซี สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย. Journal of Education Studies, 44(2), 1–14. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/71863