การพัฒนาโปรแกรมกิจกรรมโดยใช้ทฤษฏีแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา

Authors

  • จักริน ด้วงคำ

Keywords:

การพัฒนาโปรแกรมกิจกรรม, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่, นิสิตนักศึกษา, DEVELOPMENT OF ACTIVITIES PROGRAM, SMOKING BEHAVIOR CHANGE, UNIVERSITY STUDENTS

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมกิจกรรมโดยใช้ทฤษฏีแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา การพัฒนาโปรแกรมกิจกรรมใช้ทฤษฏีแรงสนับสนุนทางสังคมและทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โปรแกรมกิจกรรมประกอบด้วย 8 กิจกรรม คือ ประเมินตนเอง รู้ทันบุหรี่ ส่งเสริมกำลังใจ ออกกำลังกายต้านบุหรี่ แอโรบิคเลิกบุหรี่ ผ่อนคลายความเครียด รับคำปรึกษา และข้อมูลออนไลน์ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.96 ดำเนินการทดลองเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำการเก็บข้อมูล 3 ครั้ง คือ ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ และติดตามผลหลังสิ้นสุดการทดลอง 4 สัปดาห์ ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมโดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตนักศึกษาที่มีความสมัครใจในการเข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมและผ่านเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คนและกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรแบบวัดซ้ำ ทดสอบด้วยสถิติ “ที” และไค-สแควร์ ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้คะแนนด้านความรู้ เจตคติ  การปฎิบัติเรื่องบุหรี่และสารโคตินินในปัสสาวะ ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล 

          The purposes of this study were to develop and evaluate the effectiveness of an activity program using social support theory for smoking behavior change of university students. The activity program was based on social support theory and trans-theoretical change theory. The program consisted of 8 intervention activities: self-assessment; information smoking; mental support; exercise by resistance;  smoking cessation by aerobics; relaxation stress; counseling; and online group. The eight activities had an aggregate IOC of 0.96. The effectiveness of the activity program was assessed using 60 selected university students who volunteered and passed the inclusion criteria. Data were collected three times, before the experiment, 6 weeks after the experiment and at 4 weeks follow-up, and were analyzed by means, standard deviation, MANOVA with repeated measures, t-test and chi-square at the statistical significance level of 0.05. It was found that the average scores of knowledge, affective, practice and cotinine in the urine of the experimental group differed significantly at the .05 level from those in the control group in the posttest and follow up.

Downloads

Published

2016-11-28

How to Cite

ด้วงคำ จ. (2016). การพัฒนาโปรแกรมกิจกรรมโดยใช้ทฤษฏีแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. Journal of Education Studies, 44(2), 15–32. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/71862