การจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจและทักษะเชิงพฤติกรรม เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม

Authors

  • จินตนา บรรลือศักดิ์

Keywords:

เพศศึกษา, รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจ และทักษะเชิงพฤติกรรม, ทักษะการตัดสินใจ, ทักษะการแก้ปัญหา, SEX EDUCATION, INFORMATION, MOTIVATION AND BEHAVIORAL SKILLS MODEL, DECISION MAKING, PROBLEM SOLVING

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจและทักษะเชิงพฤติกรรมที่มีต่อการเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 75 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ นักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 37 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจ และทักษะเชิงพฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 50 นาที และนักเรียนกลุ่มควบคุมจำนวน 38 คน ที่เรียนด้วยวิธีปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 8 แผน และแบบวัดทักษะด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และหาค่าความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
           ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศ ในกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษา โดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจ และทักษะเชิงพฤติกรรมสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศ ในกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจ และทักษะเชิงพฤติกรรมสูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

          The purposes of this quasi-experimental research was to study and compare the effects of sex education learning management using the Information, Motivation and Behavioral skills (IMB) model to enhance the life skills in decision making and problem solving of grade 6 students in Chulalongkorn University Demonstration Elementary School.
The sample of the study consisted of 75 grade 6 students and were divided into two groups. The timeframe of the experiment consisted of a 50-minute lesson each week over a period of 8 weeks. The experimental group consisted of 37 students who were taught sex education using the learning management model which focused on giving information, motivation and behavioral skills and the other 38 students in the control group who learned using the normal lesson plan. The research instruments were 8 lesson plans and a test form life skill in decision making and problem solving test. The obtained data were then analyzed in terms of percentages, mean, standard deviation and t-test which were used to compare the results.

         The research findings were as follows: 1) The students who were taught with the IMB Model had higher mean scores on the pre-test at a statistically significant difference at the .05 level. 2) The students who were taught with the IMB Model had higher mean scores on the post-test than the control group at a statistically significant difference at the .05 level.

Downloads

Published

2016-11-28

How to Cite

บรรลือศักดิ์ จ. (2016). การจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจและทักษะเชิงพฤติกรรม เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม. Journal of Education Studies, 44(2), 33–56. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/71861