การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามแนวทางพหุวัฒนธรรมศึกษา สำหรับนิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ
Keywords:
การพัฒนา, รูปแบบ, การจัดการศึกษา, พหุวัฒนธรรมศึกษา, นิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์, DEVELOPMENT, MODEL, EDUCATION MANAGEMENT, MULTICULTURAL EDUCATION, ETHNIC STUDENTSAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ 2) วิเคราะห์แนวปฏิบัติที่ดีที่ส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ และ 3) พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการจัดการศึกษาตามแนวทางพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย นิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ระดับปริญญาตรี จำนวน 356 คน ที่กำลังศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จำนวน 11 แห่ง ประจำภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557 และกลุ่มผู้บริหารสถาบัน กลุ่มผู้อำนวยการกองพัฒนาคุณภาพนิสิตนักศึกษา กลุ่มอาจารย์ผู้สอน กลุ่มละ 1 คน จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที (t- test) และการทดสอบไคสแคว์ (Chi-Square Test)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์มีความคาดหวังในการจัดการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกองค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารสถาบัน องค์ประกอบที่ 2 หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และ องค์ประกอบที่ 3 การพัฒนาคุณภาพนิสิตนักศึกษา 2) แนวปฏิบัติที่ดีที่ส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์พบ 5 แนวปฏิบัติ ได้แก่ ศูนย์พหุวัฒนธรรม (center for multicultural education) การออกแบบหลักสูตร (curriculum design) ความไวต่อวัฒนธรรมที่หลากหลาย (sensitivity to diverse culture) การดำรงอัตลักษณ์ของชาติ (preserve national identiy) และนโยบายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (participative education provision policy) และ 3) รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ การเรียนรู้แบบอิงเนื้อหา (content-based learning) การปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการที่จำเพาะเจาะจง (adapting to specific needs) การถ่ายโอนความรู้ข้ามวัฒนธรรม (transferring intercultural knowledge) การหลอมรวมชุมชนนิสิตนักศึกษา (integrated student community) การดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม (participatory administration) สรุปคือ CATIP Model
The purposes of this research were: 1) to explore current conditions and problems in education management for ethnic students at higher education institutions in northern Thailand, 2) to determine best practices that promote such education management, and 3) to develop and examine a model of the same using descriptive research methodology. The sample group comprised 356 ethnic students, at bachelor degree level, in the second semester for the year 2014 and 33 persons, each representing a group of institution executives, of directors of the student quality development departments, and of the faculties from 11 higher education institutions . The research instruments were a questionnaire and an interview. The statistics employed for analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, and Chi-square test.
The findings can be summarized as follows: 1) the students have, with a statistical significance, expectations of education management in all aspects, such as element 1: institution administration, element 2: curriculum and instructional management, and element 3: student quality development; 2) there are 5 best practices: a center for multicultural education, curriculum design, sensitivity to diverse culture, preservation of national identity, and participative education provision policy; and 3) an education management model consisting of content-based learning, adapting to specific needs, transferring intercultural knowledge, integrating the student community, and participatory administration, or, in short , the CATIP model