การพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง

Authors

  • ทวีพัฒน์ ไมตรีจิตร์

Keywords:

วัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียน, SCHOOL’S ORGANIZATIONAL CULTURE

Abstract

           การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพลักษณะวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียนที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพ ในการจัดการศึกษาของโรงเรียน และ เพื่อออกแบบการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียน 2) เพื่อประเมินแบบการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียน มีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 ประชุมปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคนิค AIC บูรณาการร่วมกับแนวคิดการสร้างหรือการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร และ กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 16 คน และครูผู้ทำหน้าที่ปฏิบัติการสอน จำนวน 16 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในโรงเรียนไม่ต่ำกว่า 10 ปี รวมเป็น 32 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมิน แบบบันทึก เครื่องบันทึกภาพและเสียง ขั้นตอนที่ 2 ประเมินแบบการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ซึ่งเป็นบุคคลที่จบการศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต และปฏิบัติหน้าที่อยู่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง มาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปีจำนวน 17 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินองค์ประกอบของแบบการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหา ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพลักษณะวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียนที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ที่มีความจำเป็นต้องมีการพัฒนา จำนวน 4 ลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ 1) วัฒนธรรมภาวะผู้นำทางการศึกษา 2) วัฒนธรรมการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม 3)วัฒนธรรมเชิงนวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาใช้และ 4) วัฒนธรรมเป็นครูด้วยจิตวิญญาณในวิชาชีพครู และแบบการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียนมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) วิสัยทัศน์ 2) พันธกิจ และ 3) เป้าประสงค์ มี 4 เป้าประสงค์ คือ เป้าประสงค์ที่ 1 วัฒนธรรมภาวะผู้นำทางการศึกษา มีประเด็นกลยุทธ์ เพื่อยกระดับสภาวะผู้นำทางการศึกษาและสร้างสภาวะผู้นำร่วมทางการศึกษา เป้าประสงค์ที่ 2 วัฒนธรรมการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม มีประเด็นกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาระบบการบริหารงานแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป้าประสงค์ที่ 3 วัฒนธรรมเชิงนวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาใช้ มีประเด็นกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัด และเป้าประสงค์ที่ 4 วัฒนธรรมเป็นครูด้วยจิตวิญญาณในวิชาชีพครู มีประเด็นกลยุทธ์ เพื่อยกระดับการปฏิบัติงานในวิชาชีพครู ในแต่ละประเด็นกลยุทธ์จะมี กลยุทธ์ มาตรการ และ ตัวชี้วัดเป็นองค์กระกอบ 2) ผลการประเมินแบบการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียน ด้านความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความมีประโยชน์ และความเป็นไปได้ ระหว่างองค์ประกอบของแบบการพัฒนาโดยภาพรวม มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก

 

The purposes of this research were 1) to study current state of the schools’ organizational culture affecting the quality development of school educational management in order to design the development of the school’s organizational culture, and 2) to evaluate the organizational culture development plan. There were 2 methods in conducting research as follows: 1. Having a participatory meeting with the AIC technique integrated
with the development of the schools’ organizational culture strategic planning. The samples used in this research were 16 administrators and 16 teachers working for at least 10 years in the school. There were 32 in total selected by means or purposive sampling. The research instrument was a participatory meeting with the AIC technique integrated with the development of the school’s organizational culture and strategic planning, evaluation forms, record forms, recording audio and visual cameras. 2: Evaluating the organizational culture development plan of schools under the Office of primary educational service area in the lower northern region of Thailand by 17 subjects by means of purposive sampling from educational administrators, school administrators, supervisors with Ph.D. degrees and at least 10 consecutive years working in the region. The research tool was the qualitative assessment form of school organizational culture plan under the Primary Educational Service Area Officers in the lower northern region. The data were analyzed by using mean, standard deviation and content analysis.
The findings were as follows: 1). The current state of the school’s organizational culture affecting quality development of the school’s educational management stated that there were 4 key characteristics as follows: (1) culture of leadership in education, (2) culture of participation in school administration, (3) innovative culture in making use of new technologies, and (4) teachers’ culture in maintaining teaching professional spirit.The development of the school’s organizational culture consisted of (1) vision, (2) mission, and (3) goals. The four goals were: 1. Culture of leadership in education with its strategic issues enhancing its leading role in academic excellence and to build co-leaders in education. This goal adopted four strategies, 10 measures and 10 key performance indicators. 2. Culture of participation in school administration. Its strategic issue was to develop a school-based administrative system. This goal embraced 1 strategy, 4 measures, and 4 key performance indicators. 3. Innovative culture in making use of technologies in education management. Its strategic issues were to enhance the efficacy of creating innovation and applying technology in teaching and learning activities. The goal was adopted into three strategies, three measures and six key performance indicators, and 4. Teachers’ culture in maintaining teaching professional spirit in order to enhance teaching career performance. Each goal embraced strategies, measurements, and key performance indicators.
2) The results of the evaluation in the development of schools’ organizational culture in consistency, appropriateness, usefulness and the feasibility state its overall picture showed the consistency, appropriateness, usefulness, and feasibility at a high level.

Downloads

Published

2016-11-28

How to Cite

ไมตรีจิตร์ ท. (2016). การพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. Journal of Education Studies, 44(2), 100–118. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/71854