การจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาด้วยหลักไตรสิกขาเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศด้านการปฏิบัติ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Authors

  • พงศธร สุกิจญาณ

Keywords:

การสอนสุขศึกษา, หลักไตรสิกขา, HEALTH EDUCATION, TRISIKKHA PRINCIPLES (THE THREE-FOLD EDUCATIONAL PRINCIPLES)

Abstract

            พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในเด็กวัยเรียน เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการศึกษาของวัยรุ่น เช่น สอบตก เรียนไม่สำเร็จ การตั้งครรภ์ในวัยเรียน การลักลอบทำแท้งและการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา โดยใช้หลักไตรสิกขาเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศด้านการปฏิบัติของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยการจัดการเรียนการสอนด้วยหลักไตรสิกขากับกลุ่มที่เรียนโดยการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับสลากเพื่อกำหนดให้เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่เรียนหลักไตรสิกขา จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม ที่เรียนด้วยวิธีปกติ จำนวน 30 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักไตรสิกขาเรื่องเพศศึกษาที่ผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 แผน และแบบสอบถามด้านการปฏิบัติเรื่องเพศศึกษาที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงด้านการปฏิบัติเรื่องเพศศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.69 จำนวน 20 ข้อ ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสอนกลุ่มทดลองด้วยตนเอง ส่วนกลุ่มควบคุมให้ครูประจำวิชาเป็นผู้สอนตามปกติที่มีเนื้อหาการสอนครบถ้วนเหมือนการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักไตรสิกขา มีการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ทั้งสองกลุ่มก่อนและหลังการทดลอง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที (t-test)
            ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ย ด้านการปฏิบัติ ก่อนและหลังการเรียนด้วยหลักไตรสิกขามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนเฉลี่ยด้านการปฏิบัติ ของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักไตรสิกขาและเรียนแบบปกติมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


            Risky sexual behaviors such as adolescent sexual intercourse, drinking and drug consumption can affect adolescent learning achievements; for example, they may risk failing exams, unsuccessful learning, teen pregnancy, abortion and/or other sexually transmitted diseases (STDs). This study was a quasi – experiment research. The purposes of the research were 1) to study the effects of sex education learning management based on Trisikkha principles for reducing risky sexual behaviors concerning practice in eighth grade students, 2) to compare the academic achievements of sex education learning management between an experimental group using the Trisikkha principle and a control group using conventional learning management. The sample group consisted of eighth grade students of Santirat Wittayalai School during the second semester of academic year 2013. The 30 students in the experimental group were assigned to study under Trisikkha principles learning management while 30 students in the control group were assigned to study with conventional learning management. The research instruments were comprised of eight sex education lesson plans based on the Trisikkha principle and the sex education practice test. The obtained data of learning achievements were analyzed before and after the experiment in terms of percentage, mean, standard deviation and t-test.
           The research findings were as follows: 1) The mean scores of the practice test in the experimental group which learned using the Trisikkha principle were found to be significantly higher than before at a .05 level 2) The mean scores of the practice test in students which learned using the Trisikkha principles were found to be significantly different from the students who learned conventionally at a .05 level.

Downloads

Published

2016-11-28

How to Cite

สุกิจญาณ พ. (2016). การจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาด้วยหลักไตรสิกขาเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศด้านการปฏิบัติ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Education Studies, 44(2), 119–132. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/71852