การวิเคราะห์บทเพลงคัดสรรสำหรับนิสิตรายวิชาเครื่องสีไทย กรณีศึกษาทางเดี่ยวซออู้เพลงสุรินทราหู สามชั้น
Keywords:
การวิเคราะห์เพลงไทย, เดี่ยวซออู้, เพลงสุรินทราหู, Analysis of Sor-Oue SoloAbstract
การวิเคราะห์บทเพลงคัดสรรสำหรับนิสิตรายวิชาเครื่องสีไทย กรณีศึกษา ทางเดี่ยวซออู้เพลงสุรินทราหู สามชั้นนั้น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สังคีตลักษณ์และเทคนิควิธี ที่ปรากฏในบทเพลงคัดสรรเพลงนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ทางเดี่ยวซออู้เพลงสุรินทราหู สามชั้น สำนวนของ ผศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศที่ 1 ระดับประเทศ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 62 พ.ศ.2556 ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 3 ชิ้นประกอบไปด้วย แบบบันทึกโน้ตเพลงไทย แบบวิเคราะห์สังคีตลักษณ์ และแบบวิเคราะห์เทคนิควิธี การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการถอดทางเดี่ยวและทำนองหลักเป็นโน้ตไทยแบบ 8 ห้องเพลง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การอ่านวิเคราะห์แนวคิดแบบอุปนัย ร่วมกับการวิเคราะห์สังคีตลักษณ์ตามองค์ประกอบเนื้อหา/สาระดนตรีของ พิชิต ชัยเสรี (2548) และเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมินของ สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย (2544) ตามขอบเขตหัวข้อที่กำหนดในกรอบแนวคิดการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์ปรากฏดังนี้ คือ 1) ด้านจังหวะ เชิงปริมาณ จังหวะฉิ่งใช้การบรรเลงฉิ่งในอัตราจังหวะสามชั้นในเที่ยวหวาน และสองชั้นในเที่ยวเก็บ ส่วนเชิงคุณภาพ จังหวะหน้าทับใช้จังหวะหน้าทับปรบไก่ สามชั้น เป็นหลักในการบรรเลง 2) ทำนอง ในมิติของคุณภาพเสียงดัง – เบา ปรากฏตามวัตถุประสงค์การประดิษฐ์เสียงของผู้ประพันธ์ตลอดทั้งเพลง และในมิติของสำเนียง พบว่าเป็นเพลงไทยสำเนียงมอญ 3) การประสานเสียง พบว่า มีการประสานเสียงเฉพาะแนวดิ่งในทำนองหลักเท่านั้น และไม่พบการประสานเสียงในแนวนอนแต่อย่างใด 4) รูปแบบ ในมิติของแบบแผนการบรรเลง พบว่า เป็นไปตามขนบวัฒนธรรมเพลงเดี่ยวในกลุ่มเครื่องสาย คือ บรรเลงเที่ยวหวาน 1 เที่ยว เที่ยวเก็บ 1 เที่ยว ไล่เรียงทั้ง 3 ท่อน ส่วนในมิติของแบบแผนท่วงทำนอง พบว่า เพลงนี้เป็นเพลง 3 ท่อน ท่อน 1 มี 3 จังหวะ ท่อน 2 และท่อน 3 มีท่อนละ 4 จังหวะ เป็นรูปแบบซ้ำท้าย AB/CB/DB ทั้ง 3 ท่อน พบอีกว่าในเที่ยวหวานของท่อนที่ 2 มีการประพันธ์สำนวนมอญที่ชัดเจน และเที่ยวหวานท่อนที่ 3 มีการประพันธ์เลียนสำนวนร้องคล้ายการว่าดอกสอดแทรกอยู่ อีกทั้ง มีการบรรจุสำนวนขยี้ของพระสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน)ในตอนท้ายท่อนอีกด้วย ในมิติด้านบันไดเสียงหรือทางเสียง พบว่า เพลงนี้มี 2 บันได/ทางเสียง คือ ทางเสียงกลาง และ ทางเสียงชวา ส่วนในมิติด้านการเปรียบเทียบลูกตกระหว่างอัตราจังหวะพบว่า มีทั้งตรงตามคู่ 8 กับทำนองหลัก และเป็นคู่ประสานอื่นๆโดยเจตนาของผู้ประพันธ์ที่ต้องการสำแดงเทคนิควิธีในการประพันธ์เรียบเรียง 5) อารมณ์ พบว่า เพลงนี้ ปรากฏ ศฤงคารรสหรือ รสรักหรืออารมณ์รัก และ 6) ลีลา พบว่า มีครบทั้ง 3 ลีลา คือ ลีลาชาติ สำนัก และศิลปิน
เทคนิควิธีในการบรรเลงพบว่า มีการใช้เทคนิคทั้งสิ้น 15 วิธี ไม่พบเทคนิค นิ้วแอ้ การเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นเป็นคู่ห้า และการสีรัว หากแต่พบเทคนิคเพิ่มเติมอีก 1 วิธี คือ การสีย้อยจังหวะ
The analysis of selected music Repertoire for Thai Bowstring Class, Undergraduate Level: Su-Rin-Ta-Ra-Hoo-Sam-Chan for Sor-Oue Solo is a qualitative research. The purpose of the research is to analyze form and techniques that appear in Su-Rin-Ta-Ra-Hoo-Sam-Chan for Sor-OueSolo.The research population and sample Su-Rin-Dhara-Hoo-Sam-Chan for Sauu-U Solo by Assist.Prof.Dr.YootthanaChuppunnarat is chosen by purposive sampling method. Three research tools are used : Thai music scale analysis of musical form and analysis of techniques. Data collection is by the recording the solo performance and the main melody in scale notation. Data analysis is based on descriptive method and the musical form analysis by PichitChaiseri (2005), and the national standard of Thai music and evaluation criteria. (Office of the Higher Education Commission, 2001)
Research result :Musical form analysis : 1) Rhythms (Quantitatively), Ching Sam-Chan in the slow movement, and Ching-Song-Chan in the fast movement. (Qualitatively), Na-Tap-Prob-Kai-Sam-Chan. 2) Melody : Thai melody with Mon tonic color. 3) Harmony : Thai music traditional. 4) Form : (Musical Pattern), Thai music traditional of Thai bowed string solo. (Melodic pattern), AB/CB/DB. 5) Emotion : love expression. 6) Styles : national, school and personal styles.
Techniques : There are 15 techniques used in the performance.