การพัฒนาและประเมินโปรแกรมกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลตนเอง ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะภูมิแพ้
Keywords:
การพัฒนาโปรแกรมกิจกรรม, พฤติกรรมสุขภาพในการดูแลตนเอง, ภาวะภูมิแพ้, DEVELOPMENT OF AN ACTIVITY PROGRAM, HEALTHY BEHAVIORS IN SELF CARE, ALLERGIESAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะภูมิแพ้ การพัฒนาโปรแกรมกิจกรรมใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคของโรเจอร์ และทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ได้โปรแกรมกิจกรรมประกอบด้วย 8 กิจกรรม คือ ประเมินตนเอง รับรู้ข้อมูล บ้านในฝัน กลุ่มออนไลน์ ออกกำลังกายเอาชนะภูมิแพ้ บรรเทาอาการภูมิแพ้ ผ่อนคลายอารมณ์ และให้คำปรึกษา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.89 จากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน การประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมกิจกรรมใช้กลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจงจาก 2 โรงเรียน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะภูมิแพ้จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ดำเนินการทดลองเป็นเวลา 6 สัปดาห์ และเก็บข้อมูล 3 ครั้ง คือ ระยะก่อนการทดลอง ครบการทดลอง 6 สัปดาห์ และติดตามผลหลังสิ้นสุดการทดลอง 4 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรแบบวัดซ้ำ และทดสอบด้วยสถิติ “ที” ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นทั้ง 8 กิจกรรม ส่งผลให้คะแนนด้านความรู้เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้และการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะภูมิแพ้ การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะภูมิแพ้ การปฏิบัติตนในการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะภูมิแพ้ และการให้คะแนนระดับอาการภาวะภูมิแพ้ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล
The purposes of this study were to develop and evaluate the effectiveness of the activity program to promote healthy behaviors in the self-care of lower secondary school students with allergies. The activity program is based upon the Roger’s Protection Motivation Theory and Pender’s Health Promoting Model. The program consisted of 8 intervention activities: self-assessment; information awareness; dream home; online group; overcoming allergies by exercising; allergy relief; relaxation and counseling. The eight activities had an aggregate IOC of 0.89 from 5 experts. The effectiveness of the activity program was assessed using 60 purposively selected lower secondary school students with allergies from 2 schools. Data were collected three times: before the experiment, 6 weeks after the experiment and follow-up 4 weeks, and were analyzed by mean, standard deviation, MANOVA with repeated measures, and t-test at a statistically significant level of 0.05. The results found that the average scores of knowledge about allergies and self-care to reduce allergies, the efficacy of self-care to reduce allergies, practice self-care to reduce allergies and level allergy symptoms of the experimental group were significantly different at .05 levels from those of the control group in the posttest and follow up. And an experimental group had lower level allergy symptoms.