การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี
Keywords:
หลักสูตรฝึกอบรม, ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน, จังหวัดชลบุรี, TRAINING PROGRAM, SCHOOL ADMINISTRATORS, CHONBURIAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาความต้องการ ความจำเป็นในการฝึกอบรม 2) การสร้างหลักสูตร 3) การนำหลักสูตรไปปฏิบัติจริง และ4) การประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มผู้เข้ารับการอบรม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำนวน 30 คน โดยใช้การวิจัยแบบ One group pretest-posttest design โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนวัดความรู้ ทักษะ และค่านิยม ก่อนและหลังการฝึกอบรม ทำการวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test แบบ Dependent
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย สภาพปัญหาและความจำเป็นในการฝึกอบรม หลักการของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร แนวทางการฝึกอบรม กระบวนการฝึกอบรม ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม สื่อการฝึกอบรม และการประเมินผลการฝึกอบรม เนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ทักษะทางการบริหารตามแบบภาวะผู้แบบผู้รับใช้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ทักษะทางสังคมตามแบบภาวะผู้แบบผู้รับใช้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ทักษะทางการพัฒนาตามแบบภาวะผู้แบบผู้รับใช้ และหลักสูตรฝึกอบรมมีความเหมาะสม สอดคล้อง และมีประสิทธิภาพ 2) การทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนด้านความรู้ ทักษะ และค่านิยมตามแบบคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 30 คน มีความสนใจในการฝึกทักษะภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ ซักถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี
The purpose of this research was to develop training curriculum to servant leadership for the private school administrators in Chonburi. The program development process was as follows: 1) study of need assessment for training, 2) development of the training program, 3) implementation of the training program, and 4) evaluation of the training program. The samples were 30 private school administrators under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3. The research design of implementing the training was one group pre-test and post-test. Percentage, mean, standard deviation, content analysis, and t-test dependents were the statistical devices used for analyzing the data.
The findings of the research were as follows: 1) Servant leadership training curriculum for private school administrators in Chonburi consisted of problems and a need for training on principle,s objectives, content, training guidelines, training process, media and evaluation. The training content of the curriculum consisted of: Unit 1 Introduction to servant leadership, Unit 2 Administrative skills as a servant leadership, Unit 3 Social skills as a servant leadership, and Unit 4 Development skills as a servant leadership. 2) It was revealed that the pre-test and post-test of the training program for the private school administrators with the knowledge, skills and values as a servant leadership traits found a statistically significant difference at a .05 level. 3) The results of the program revealed that 30 private school administrators were interested in practicing collaborative servant leadership activities, sharing and learning from experiences and participating in discussions.