ความพึงพอใจของคณาจารย์ต่อระบบการประเมินตนเองออนไลน์: กรณีศึกษาคณาจารย์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Authors

  • Pornsook Tantrarungroj Department of Educational Technology and Communications, Faculty of Education, Chulalongkorn University

Keywords:

TEACHER SELF-EVALUATION, ONLINE ASSESSMENT, INFORMATION COMMUNICATIONS AND TECHNOLOGY (ICT), การประเมินตนเองของครู, การประเมินออนไลน์, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของคณาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อระบบการประเมินตนเองออนไลน์ และอิทธิพลของตัวแปรคัดสรรซึ่งอาจจะส่งผลต่อความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพของระบบการประเมิน เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาระบบประเมินตนเองออนไลน์ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพและสมรรถนะการสอน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร คือ คณาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำการปีการศึกษา 2552 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) และแบบคำถามปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะของกลุ่มตัวอย่างและความพึงพอใจ ใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการคำนวณเปรียบเทียบความพึงพอใจของคณาจารย์จำแนกตามตัวแปรด้านสถานภาพส่วนตัว และการรู้ไอซีทีต่อระบบการประเมินตนเองออนไลน์ของคณาจารย์ใช้สถิติ t-test และ ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า 1) คณาจารย์มีความพึงพอใจต่อระบบการประเมินตนเองออนไลน์ในระดับมาก
(=3.9, S.D. = .64) เมื่อพิจารณาในส่วนของลักษณะแบบประเมิน เทคนิค และประสิทธิภาพของรายการในระบบการประเมินตนเองออนไลน์ 2) คณาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีสถานภาพส่วนตัว และการรู้ไอซีทีที่ต่างกันมีความพึงพอใจต่อระบบการประเมินตนเองออนไลน์ไม่แตกต่างกัน และ 3) ร้อยละ 20 ของคณาจารย์ที่แสดงความคิดเห็น ไม่พบปัญหาและมองว่าเป็นระบบประเมินตนเองออนไลน์เป็นระบบที่ดี ประเมินได้ตรงจุด ช่วยสะท้อนการทำงานของตนเอง และเสนอแนะให้ปรับปรุงในส่วนของกระทงคำถาม รูปแบบการประเมิน และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล 

The primary objective of this survey research was to study the satisfaction of the members of the Faculty of Education, Chulalongkorn University toward the online teacher self-evaluation system. The study examined whether or not the participants’ perception of the effectiveness of the online teacher-self-evaluation is related to the participants’ characteristics and ICT literacy and to investigate comments and suggestions that can contribute to improve teacher quality and performance. A population was members of the Faculty of Education, Chulalongkorn University who was working during the school year in 2009. The instrument was a questionnaire measured by checklist, rating scale, and open-ended questions. The descriptive data were analyzed using frequency, percentage, mean, and standard deviation. The Independent t-test analysis and analysis of variance (ANOVA) were used to compare levels of satisfaction of faculty members with the online teacher self-evaluation system between those with different backgrounds and ICT literacy.

The major research findings were as follows: 1) The result indicated that faculty members were satisfied with the online teacher self-evaluation ( = 3.9, SD = .64) including design of the questionnaire, technical utilization, and effectiveness of the reflection questions.
2) No significant differences in background and ICT literacy were found in participants’ perceptions toward the effectiveness of the online teacher self-evaluation system. 3) From the written feedback, 20% of respondents indicated that the online teacher self-evaluation system was useful and direct, which helped them to reflect their past teaching experience. The respondents gave suggestions for improving the system, including quality statements, the evaluation format, and security of information.

Downloads

How to Cite

Tantrarungroj, P. (2015). ความพึงพอใจของคณาจารย์ต่อระบบการประเมินตนเองออนไลน์: กรณีศึกษาคณาจารย์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Journal of Education Studies, 43(4). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/44682