การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กตามแนวคิดชุมชนแห่งการปฏิบัติ

Authors

  • อาจารย์ ดร. รังรอง สมมิตร สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 ซอยสุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

Keywords:

PROFESSIONAL DEVELOPMENT, PRESCHOOL CAREGIVERS, COMMUNITIES OF PRACTICE, การพัฒนาวิชาชีพ, ครูผู้ดูแลเด็ก, ชุมชนแห่งการปฏิบัติ

Abstract

การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กตามแนวคิดชุมชนแห่งการปฏิบัติเป็นรูปแบบหนึ่งในการพัฒนาวิชาชีพครูปฐมวัยในบริบทการทำงาน  กระบวนการพัฒนาดังกล่าวมีองค์ประกอบดังนี้ เป้าหมายของการพัฒนาชุมชนแห่งการปฏิบัติ  กลุ่มผู้สนับสนุน  การร่วมมือแบบมีส่วนร่วม  การถอดประสบการณ์จากการปฏิบัติและการสร้างความยั่งยืน  การดำเนินการมี  3 ระยะ ในแต่ละระยะมีกระบวนการหลักคือ ระยะที่ 1 การก่อตั้งชุมชน ประกอบด้วย         1) การศึกษาบริบทการทำงานของสมาชิกในกลุ่ม 2) การเสริมสร้างความสัมพันธ์ 3) การสำรวจและวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่ม 4) การประสานความร่วมมือกับผู้สนับสนุน  ระยะที่ 2 การพัฒนาชุมชน ประกอบ 1) การวางแผนการปฏิบัติการ 2) การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และ 4) การประสานความร่วมมือกับผู้สนับสนุน  และระยะที่ 3 การสร้างความยั่งยืน ประกอบด้วย 1) การถอดประสบการณ์การเรียนรู้  2) การติดตามผลการเรียนรู้  ในแต่ละระยะมียุทธศาสตร์สำคัญที่ทำให้การดำเนินกระบวนการมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของบุคคลและของกลุ่ม รวมถึงยุทธศาสตร์สำหรับการสร้างความยั่งยืนของกลุ่ม

This article presents the development of a preschool caregiver child-rearing ability based on the communities of practice approach.  This process includes the following elements: development goals, communities of practice, support groups, partnering with participation, removing the experience of implementation and sustainability. The process consists of three stages: Stage 1- Establishment of community: 1) Studying the community, 2) reinforcing group relationships and empowerment, and 3) surveying and analyzing the group’s potential; Stage 2- Development of community: 1) Planning participatory operations, 2) conducting participatory operations, 3) summarizing the experience of the operation; and 4) reaching out to form networks; Stage 3- Maintaining sustainability: 1) Summarizing the experience following the operation, and 2) following up on the learning.  Each stage has important strategies to enhance effective operation contributing to the progress of the individuals and the group, Including strategies for the sustainability of the group.

Downloads

How to Cite

สมมิตร อ. ด. ร. (2015). การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กตามแนวคิดชุมชนแห่งการปฏิบัติ. Journal of Education Studies, 43(4). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/44592