ผลของการใช้คำถามประเมินตนเองและการประเมินโดยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถ ของตนเองและความรู้บูรณาการ TPACK ด้านการออกแบบสื่อดิจิทัลของนิสิตครู

Authors

  • ผศ. ดร. ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาจารย์ ดร.พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

SELF-QUESTIONING, PEER ASSESSMENT, SELF-EFFICACY, TPACK, PRE-SERVICE TEACHER, คำถามประเมินตนเอง, การประเมินโดยเพื่อน, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, ความรู้บูรณาการเทคโนโลยี ศาสตร์การสอนและเนื้อหาสาระ, นิสิตครู

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้คำถามประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อนในการเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์ที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองและความรู้บูรณาการ TPACK ด้านการออกแบบสื่อดิจิทัลของนิสิตครู และศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ ๒x๒ วิธีแฟคทอเรียลกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน ๒๓๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี ๖ ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบสองทาง (two-way MANOVA) ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากร่องรอยพฤติกรรมของผู้เรียนซึ่งปรากฏบนระบบบริหารจัดการเรียนรู้ Blackboard วิเคราะห์หมวดหมู่ และนำเสนอโดยการใช้ความถี่ ร้อยละ  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ๑) คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองและคะแนนเฉลี่ยความรู้บูรณาการ TPACK ด้านการออกแบบสื่อดิจิทัลของนิสิตครูหลังการเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๒) การใช้คำถามประเมินตนเองและการประเมินโดยเพื่อนไม่มีอิทธิพลหลักต่อคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเอง และความรู้บูรณาการ TPACK ด้านการออกแบบสื่อดิจิทัล และพบว่ามีอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างการใช้คำถามประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อนต่อคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ แต่ไม่มีอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ส่งผลต่อคะแนนความรู้แบบบูรณาการ TPACK ด้านการออกแบบสื่อดิจิทัล ๓) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มระหว่างการเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์ ได้แก่ ด้านการใช้เครื่องมือสื่อสาร ด้านความร่วมมือในการทำกิจกรรมออนไลน์ ด้านการสรุปความคิดเห็น ผู้เรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มโครงงานออนไลน์ในระดับดี

The purposes of this study were to study the effects of using self-questioning and peer assessment instructional support in online project-based learning on self-efficacy in designing digital media and TPACK scores of pre-service teachers and to investigate the perspective of behavior of collaborating in online-based learning of pre-service teachers. The research design was 2x2 factorial research design. The subjects were 232 pre-service teachers from ED TECH INFO course. There were 6 research instruments for collecting quantitative and qualitative data. Quantitative data were analyzed using two-way multivariate analysis of variance (two-way MANOVA) while qualitative data from group discussion boards were analyzed by frequency, percentage, and content analysis technique. The results from the study were: 1) students experienced an online project-base had statistically significant higher scores in posttests of the self-efficacy in designing digital media and TPACK than pretest scores at the .05 level; 2) there was no main effect between self-questioning and peer assessment learning strategies upon the means of self-efficacy and TPACK scores; while self-questioning and peer assessment learning strategies had statistically interaction upon the means of self-efficacy but had no interaction upon the means in TPACK scores; 3) the perspectives of behavior of collaborating in online group projects were: 3.1) communication tools; 3.2) collaborative group work; and 3.3) different ways of group agreement and most of the students had a good level in perspectives of behavior in collaborating on online group projects.

Downloads

How to Cite

สุวรรณณัฐโชติ ผ. ด. ป., & ตันตระรุ่งโรจน์ อ. ด. (2015). ผลของการใช้คำถามประเมินตนเองและการประเมินโดยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถ ของตนเองและความรู้บูรณาการ TPACK ด้านการออกแบบสื่อดิจิทัลของนิสิตครู. Journal of Education Studies, 43(4). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/44583