การพัฒนาโปรแกรมโดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักพุทธธรรมไตรสิกขา เพื่อสร้างเสริมจิตสาธารณะนักศึกษาปริญญาบัณฑิต
Keywords:
PROGRAM DEVELOPMENT, ENHANCING PUBLIC MIND, PHILOSOPHY OF SUFFICIENCY ECONOMY, THREE FOLD, การพัฒนาโปรแกรม, สร้างเสริมจิตสาธารณะ, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, ไตรสิกขาAbstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์แนวคิด องค์ประกอบการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักพุทธธรรมไตรสิกขา เพื่อพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมจิตสาธารณะนักศึกษาปริญญาบัณฑิต และประเมินผลการพัฒนาโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลอง คือนักศึกษาปริญญาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน ดำเนินการทดลอง 8 วัน 3 ระยะ รวม 48 ชั่วโมง โดยใช้เครื่องมือ คือแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถาม แผนการจัดกิจกรรม แบบวัดจิตสาธารณะ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรม โดยวิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระแก่กัน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ แนวคิด องค์ประกอบ พบว่า มีหลักคิดสำคัญ คือการน้อมนำประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ด้านดำเนินการจัดกิจกรรม และมีขั้นการจัดการเรียนรู้ โดยใช้หลักไตรสิกขา 3 ขั้นตอนคือ ศีล สมาธิ และปัญญา 2) ผลการพัฒนาโปรแกรม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินผลการพัฒนาโปรแกรม พบว่า (3.1) ระดับพฤติกรรมจิตสาธารณะในภาพรวม สูงกว่าก่อนการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจากการวิเคราะห์เนื้อหา มีการพัฒนาด้าน กาย ศีล จิต ปัญญา ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด (3.2) ผลการประเมินโครงการสร้างเสริมจิตสาธารณะ ทุกโครงการผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด (3.3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรม อยู่ในระดับมากที่สุด
The research was aimed at analyzing the components of the Philosophy of Sufficiency Economy and the threefold to develop a training program for enhancing public mind of the undergraduate students, and to evaluate the results of the program. The representative was 30 undergraduate students of Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. The experiment took eight days with three phases, totaling 48 hours the research instruments were interview forms, observation forms, questionnaires, public mind tests and the assessments of program satisfaction. The differences between the averages of two samples were selected from the t-test for analysis. And the content analysis was used in qualitative research.
The results of the study were as follows:
- The results of concept components to leading the Philosophy of Economy found that the main principles were the process of learning with three steps: precepts, meditation and wisdom.
- The program development was at the highest level.
- The results of the program development found that:
3.1 The level of general behaviors for public mind statically significant higher at .05.And the content analysis revealed that the development of physical, precepts, mental, and wisdom met the target.
3.2 The results of the program for educating the public that all projects met the criteria.
3.3 The results of the program satisfied all relevant criteria.