การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของตำรวจตระเวนชายแดน
Keywords:
NON-FORMAL EDUCATION, SELF-CARE BEHAVIORS, BORDER PATROL POLICE, การศึกษานอกระบบโรงเรียน, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง, ตำรวจตระเวนชายแดนAbstract
บทความวิจัยนี้พัฒนาขึ้นจากการวิจัยและการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิด นีโอฮิวแมนนิสและการแพทย์วิถีธรรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของตำรวจตระเวนชายแดน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส และการแพทย์วิถีธรรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของตำรวจตระเวนชายแดนและศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและการแพทย์วิถีธรรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของตำรวจตระเวนชายแดน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความต้องการด้านสุขภาพ แผนการจัดกิจกรรม แบบทดสอบความรู้ด้านสุขภาพ แบบวัดทัศนคติด้านสุขภาพ แบบสอบถามการปฏิบัติตนด้านสุขภาพ และ แบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบ (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า
กิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและการแพทย์วิถีธรรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของตำรวจตระเวนชายแดนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีกระบวนการดังนี้ 1) การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ 2) สร้างภาพพจน์ด้านบวกให้กับตนเอง 3) การบรรยายความรู้ 4) การสาธิต 5) การฝึกปฏิบัติ 6) การประเมินผลการเรียนรู้ และผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ร้อยละ 80 มีความพอใจในกิจกรรมที่จัดขึ้นในระดับพึงพอใจมากและมีความรู้ การปฏิบัติตนด้านสุขภาพและมีทัศนคติสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The study was a research and development study on non-formal education activities management based on the Neo - humanist concept and Buddhist medicine to promote self-care behaviors, and to study the effects of the developed Non-formal (NFL) education activities. The research instruments included a needs-assessment form, activity plans, Health Knowledge Test, Health Attitude Test, Health Practice Test, and a program evaluation form. The data were analyzed by using means ( x̄), Standard Deviation (SD), and t-test at .05 level of significance. The results were as follows:
The developed NFL process is comprised of six activities: 1) creating a learning atmosphere; 2) increasing self-esteem; 3) delivering knowledge through a lecture; 4) demonstration; 5) practice; and 6) evaluation. After the experiment, it was found that participants’ mean scores ( x̄) of health knowledge, health attitude and practices were higher than the mean scores before the experiment at a .05 level of significance. Eighty percent of the participants’ expressed their satisfaction at a high level.