Thai Teacher Education for the Future: Opportunities and Challenges
Keywords:
21st Century Education, Teacher Education, Pre-service Teachers, Teacher Educators, Educational Reform, Teacher PreparationAbstract
Teachers play a key role in supporting or suppressing studentsû learning. Regarding
the needs for new kinds of instruction to enhance lifelong learning and the skills necessary for the learnersû unknown future, educational reform in high performing countries like Finland, Singapore, and South Korea has been given close attention to make changes in their teacher education, while Thailand has vaguely addressed the issues related to teacher preparation in its recent draft of educational reform. This article therefore seeks to provide an understanding of the opportunities and challenges that Thai pre-service teacher education is facing in the preparation of 21st century teachers. Given the existing management system of teacher education programs and a large number of stakeholders-government offices, teacher education institutions, teacher educators, and student teachers, Thai teacher education needs a clear governance system, research-based policies, and close collaboration between teacher education institutions and schools in order to achieve coherent policies and practices that are informed by research and implemented by collaborative partnership among all parties.
ครูมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนหรือหยุดยั้งการเรียนรู้ของผู้เรียน ในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนการสอนแบบใหม่ที่มุ่งพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคตที่ไม่แน่นอนของผู้เรียน ประเทศที่ประสบความสำเร็จสูง ได้แก่ ฟินแลนด์ สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ให้ความสำคัญอย่างมากกับการเปลี่ยนแปลงในครุศึกษา ในขณะที่ร่างการปฏิรูปการศึกษาฉบับล่าสุดของประเทศไทยกล่าวถึงเรื่องการเตรียมครูเพียงคร่าวๆ ดังนั้น บทความฉบับนี้จะอภิปรายเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายที่ครุศึกษาไทยกำลังประสบในการเตรียมครูสำหรับศตวรรษที่ 21 และเมื่อพิจารณาจากระบบการบริหารจัดการหลักสูตรครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ในปัจจุบันและจำนวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด พบว่าครุศึกษาไทยต้องการความชัดเจนในเรื่องของระบบบริหารจัดการ การพัฒนานโยบายทางการศึกษาที่อยู่บนฐานการวิจัย และการสร้างเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันผลิตครูและโรงเรียน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดนโยบายและการปฏิบัติที่มีความเชื่อมโยงเป็นระบบและอยู่บนฐานงานวิจัยของภาคีผู้มีส่วนร่วมทั้งหมด