การนำการศึกษาประสิทธิผลของวิธีการสอนแบบกลุ่มเรื่องคีย์บอร์ดสำหรับนิสิตปริญญาตรีที่ไม่มีสมรรถภาพพื้นฐานทางดนตรีมาใช้ในการเรียนการสอน

Authors

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรนุชา อัฏฏะวัชระ

Keywords:

วิธีการสอน, คีย์บอร์ด, สมรรถภาพ, นิสิตปริญญาตรี, TEACHING METHOD, KEYBOARD, COMPETENCY, UNDERGRADUATE

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสอน (การจัดการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอน) และเพื่อทดลองใช้และศึกษาติดตามผลจากการศึกษาวิธีสอน (การจัดการเรียนการสอนและสื่อการเรียน
การสอน) ในรายวิชา 2737118 คีย์บอร์ดขั้นพื้นฐาน (Elementary Keyboard) แบบกลุ่มสำหรับนิสิตปริญญาตรีที่ไม่มีสมรรถภาพพื้นฐานทางดนตรี ตัวอย่างวิจัย นิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 2737118 คีย์บอร์ดขั้นพื้นฐาน (Elementary Keyboard) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ที่ไม่มีสมรรถภาพพื้นฐานทางดนตรีได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ วิธีการสอนแบบกลุ่ม สื่อการเรียนการสอน แบบสอบถามเจตคติต่อการเล่นเครื่องดนตรีคีย์บอร์ด แผนการสอนและประมวลรายวิชา 2737118 แบบวัดความรู้ แบบวัดทักษะ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบ t ชนิดตัวอย่างสัมพันธ์กัน (t dependent) หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (X,S.D.) ของประสิทธิภาพของความพึงพอใจในการเรียนรายวิชา2737118 คีย์บอร์ดขั้นพื้นฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์วิธี  การสอน (การจัดการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอน) ในรายวิชา 2737118 คีย์บอร์ดขั้นพื้นฐาน (Elementary Keyboard) แบบกลุ่มสำหรับนิสิตปริญญาตรี ที่ไม่มีสมรรถภาพพื้นฐานทางดนตรี สรุปได้ว่าเครื่องมือที่สร้างขึ้นครั้งนี้สามารถนำไปใช้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ผลการวิเคราะห์จากการทดลองใช้และศึกษาติดตามผลจากการศึกษาวิธีสอน (การจัดการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอน) ในรายวิชา 2737118 คีย์บอร์ดขั้นพื้นฐาน (Elementary Keyboard) แบบกลุ่มสำหรับนิสิตปริญญาตรี ที่ไม่มีสมรรถภาพพื้นฐานทางดนตรี ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 92.32/80.35 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัย ก่อนและหลัง การเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ทักษะการเล่นเครื่องคีย์บอร์ดมีค่าเท่ากับ  92.7 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ว่า   ผลการประเมินด้านทักษะ การเล่นคีย์บอร์ดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และ ความพึงพอใจในวิธีการความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนวิชาคีย์บอร์ด อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (= 4.78)  เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ว่าผลคะแนนรวมจากแบบวัดความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าระดับมาก

The main objectives of this research were to study the teaching method “The Instructional Management and Teaching Aids Development (IMTAD)” and to carry out a trial as well as follow-up on the teaching method for subject no.2737118 “Elementary Keyboard”. The samples were undergraduate students who enrolled in the subject during the first semester of, academic year 2011 at, Chulalongkorn University. The samples were purposively selected students without basic music competency. The instruments used in this study were a group teaching technique, teaching aids, attitude questionnaires towards lesson plans and the 2737118 subject description, knowledge evaluation form, skill evaluation form, and achievement evaluation form. The data analysis involved the use of multiple statistical procedures: T-test of Significance, Mean Point Value (X), and SD to measure the students’ satisfaction with the learning effectiveness.

          The findings indicated that; 1) The analysis showed that the teaching method as well as teaching aids created by the researcher for the undergraduate students without basic music competency who enrolled in the Subject 2737118 (Elementary Keyboard) of the first semester, academic year 2011 had high learning efficiency. 2) The analysis of  the trail of the group teaching and the follow-up on the teaching method (musical note exercises) that were created by the researcher for the undergraduate students without basic music competency who enrolled in the subject during the first semester, academic year 2011were efficiency at 92.32/80.35 which higher than the Formative Assessment  and Summative   Assessment, the standard criterion at 80/80.The cognitive learning achievement of the post-learning was higher than the pre-learning at the statistically significant difference level of .05. In addition, the evaluation of the students’ keyboard-skill was at 92.7, which was higher than the criterion 70%.  The students were satisfied with the teaching method of this subject at the highest level (4.78) which was in accordance with the criterion of the average total scores which were not less than the high level.

Downloads

Published

2015-08-02

How to Cite

อัฏฏะวัชระ ผ. อ. (2015). การนำการศึกษาประสิทธิผลของวิธีการสอนแบบกลุ่มเรื่องคีย์บอร์ดสำหรับนิสิตปริญญาตรีที่ไม่มีสมรรถภาพพื้นฐานทางดนตรีมาใช้ในการเรียนการสอน. Journal of Education Studies, 43(2), 112–122. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/37792