ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืน ของนักเรียนมัธยมศึกษา

Authors

  • ศิรเมศร์ ศิริศักดิ์ธนากุล
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา อาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330

Keywords:

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, พฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืน, สังคมศึกษา, CRITICAL THINKING, SUSTAINABLE CONSUMPTION, SOCIAL STUDIES

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ก่อนและหลังการใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กับวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา และเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืนระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ จำนวน 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 50 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ใช้เวลาในการทดลอง 36 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสำรวจพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ความถี่การวิเคราะห์เนื้อหาและเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1)นักเรียนกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืนสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืนสูงขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The purposes of this research were to compare the pre and post effect of organizing activities by using the critical thinking learning process and conventional learning process toward sustainable consumption behavior of secondary students and to compare pre and post behavior of sustainable consumption by using the critical thinking process.

The samples were 100 students in grade 7 in Sri Ayudhya School which were divided into the experimental group (n=50) and the control group (n=50). Thirty six-period lesson plans for critical thinking learning activities were the experimental instruments and the survey form of sustainable consumption behavior was the data collection instrument. The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation, frequency and content analysis and compared the data by t-test

The results revealed that 1) the students in the experimental group participating in critical thinking activities had higher scores on sustainable consumption behaviors than those in the control group at the significant level of .05; and 2) the students in the experimental group participating in critical thinking activities had higher post-scores on sustainable consumption behaviors than pre-scores at the significant level of .05. 

Downloads

Published

2015-08-02

How to Cite

ศิริศักดิ์ธนากุล ศ., & อิศรางกูร ณ อยุธยา ผ. ด. ว. (2015). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืน ของนักเรียนมัธยมศึกษา. Journal of Education Studies, 43(2), 98–111. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/37791