กลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกกระทรวงสาธารณสุข
Keywords:
การบริหาร, ความเป็นเลิศ, กลยุทธ์, MANAGEMENT, TOWARD EXCELLENCE, STRATEGYAbstract
วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก กระทรวงสาธารณสุขเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศตามแนวคิดของ Malcolm Baldrige 2) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก กระทรวงสาธารณสุข วิธีการวิจัยเป็นแบบผสมผสานโดยการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาศูนย์แพทยศาสตศึกษาชั้นคลินิก กระทรวงสาธารณสุข จำนวนทั้งหมด 33 ศูนย์ โดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้วยเทคนิค PNIModified ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นกรณีศึกษาศูนย์แพทย์ฯ ที่มีการปฏิบัติที่ดี 4 ศูนย์
ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก กระทรวงสาธารณสุขเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศตามแนวคิดของ Malcolm Baldrige มีค่าเฉลี่ยอยู่ในกระดับปานกลาง (= 3.19) โดยด้านการนำองค์กรมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (= 3.42) และด้านผลลัพธ์การดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (= 3.04) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก กระทรวงสาธารณสุขเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศตามแนวคิดของ Malcolm Baldrige มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.45) โดยด้านการนำองค์กรมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (= 4.51) ส่วนด้านผลลัพธ์การดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (= 4.42) ค่าดัชนี PNIModified ความต้องการจำเป็นของการบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก กระทรวงสาธารณสุข โดยภาพรวมมีค่า PNIModified = 0.55 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าประเด็นที่มีลำดับความสำคัญมากที่สุดคือ ด้านผลลัพธ์การดำเนินงานขององค์กร (PNIModified = 0.56) ด้านที่มีค่าความต้องการจำเป็นน้อยที่สุดคือ ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (PNIModified = 0.56) (2) กลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก กระทรวงสาธารณสุข มี 4 กลยุทธ์หลัก คือ 1) กลยุทธ์พัฒนาผลลัพธ์การดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศระดับสากล
2) กลยุทธ์พัฒนาสมรรถนะหลักของอาจารย์และบุคลากร 3) กลยุทธ์พัฒนาระบบการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 4) กลยุทธ์พัฒนาการจัดกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ
The purposes of this research were: 1) to study the current situation and desirable situation of the management of medical education centers of the Ministry of Public Health with regards to Malcom Balridge’s principles of excellence, and 2) to analyze the strengths, weaknesses, opportunities of and threats toward the management of medical education centers of the Ministry of Public Health with regards to Malcom Balridge’s principles of excellence, and to 3) propose management strategies that promote excellence at the medical education centers of the Ministry of Public Health. This is a mixed method research using both quantitative and qualitative approaches. The quantitative approach included a population of 33 medical education centers of the Ministry of Public Health. Questionnaires were used as the research instrument, and the Modified Priority Needs Index (PNImodified) analysis was used to identify priority needs. The qualitative approach was undertaken in the case study of schools with administrators possessing good practices in academic administration.
Major results revealed that: 1) the current situation of management of the medical education centers of the Ministry of Public Health adhere to Malcolm Balridge’s principles excellence at moderate levels (= 3.19). Adherence to the principle of leadership shows the highest level (= 3.42), while the principle of operations was found to be followed at the lowest average (= 3.04). The desirable situation of management of the medical education centers of the Ministry of Public Health adhere to Malcolm Balridge’s principles excellence has an overall high average (= 4.45). The Leadership is the highest average (= 4.51) and the results of operations is the lowest average
(= 4.42). The results on the index of needs (PNIModified) are that the average variance level in all management of the medical education centers of the Ministry of Public Health is PNIModified = 0.55. The results of operations of an organization had a PNIModified of 0.65, and with the needs minimal the learner and Stakeholders focus (PNIModified = 0.44). (2) Management strategies that push toward excellence the medical education centers of the Ministry of Public Health are divided into four main cateogies: (1) development of results of operations toward excellence internationally, (2) development of core competencies of workforce focus, (3) development of measurement, analysis and knowledge management, and (4) development of efficient processes.