การพัฒนารูปแบบและยุทธศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย

Authors

  • พระมหาสนอง จำนิล
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
  • อาจารย์ ดร.ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ

Keywords:

MODELS, STRATEGIES, BUDDHISM, รูปแบบ, ยุทธศาสตร์, พระพุทธศาสนา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย 2)วิเคราะห์แนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย และ 3) พัฒนารูปแบบและยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ปีการศึกษา 2557 จำนวน 78 รูป/คน โดยแบ่งผู้สัมภาษณ์ 26 รูป/คน และผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 78 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 81 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย ประกอบด้วย 6 หลักการ และ 19 แนวทาง ดังนี้  หลักการมี 6 หลัก ประกอบด้วย 1) ความตระหนักในหน้าที่ 2) การเผยแผ่ศาสนาอย่างกว้างไกล 3) การดำเนินงานด้านการเผยแผ่อย่างต่อเนื่อง 4) การสงเคราะห์ประชาชนทุกระดับ 5) ความเป็นประโยชน์ต่อชีวิตชาตินี้ และ 6) การแสวงหาและสร้างกัลยาณมิตร ส่วนแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนามี 19 ประการ ประกอบด้วย 1) การเปิดใจยอมรับฟังคำสอนของนักปราชญ์อื่นๆ  2) การสอนแบบบรรยาย  3) การถามตอบปัญหา 4) การสนทนาปราศรัยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 5) การสอนด้วยทฤษฎี 4ส. คือ สันทัสสนา สมาทปนา สมุตเตชนา สัมปหังสนา 6) การสอนด้วยปาฏิหาริย์ 3 คืออิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนียปาฏิหาริย์ 7) การเสนอคำสอนที่เป็นแก่นแท้ 8) การประยุกต์/บูรณาคำสอนขึ้นมาใหม่ 9) คณะพระธรรมทูต 10) การปฏิรูปและปฏิวัติ 11) การแสดงพระธรรมเทศนา 12) การปรับบุคลิกภาพตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น 13) การไปเยี่ยมบ้าน 14) การปลุกปลอบขวัญกำลังใจ 15) การปฏิบัติแบบเชิงรุก 16) การเข้าหาผู้นำทางศาสนาการเมืองและเศรษฐกิจ 17) การเจริญสัมพันธไมตรี 18) การใช้ล่ามแปล และ 19) การที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำและทรงเป็นผู้สนับสนุน ส่วนยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย กำหนดได้ 19 ยุทธศาสตร์  

The purposes of this research were first, to study the state and problems encountered in the propagation of Buddhism in Buddhist Universities in Thailand and secondly, to analyze guidelines to promote  Buddhism in Thailand and finally, to develop models and strategies for the propagation of Buddhism in Thailand. The research is based on an analysis of documents and data from fieldwork. The instruments used were questionnaires and interviews which were approved by a qualified committee. The results of the study found that models to propagate Buddhism contained 6 main principles and 19 guidelines. The principles of propagation consisted of 6 items which are the responsibility for one’s duty, wide propagation, conducting propagation activities continually, social activities for all classes, performing good deeds in this life, and seeking true friends. The guidelines for the propagation of Buddhism consisted of 19 items as follows: 1) Openness to suggestions for improvement; 2) Instruction through lecturing; 3) Instruction through responding to questions; 4) Instruction through the exchange of opinions; 5) The 4 Ss, namely; (Sandassana) clear teaching, (Samadapana) teaching topics of interest to learners, (Samuttejana) teaching which encourages learners and (Sampahamsana), teaching which delights learners;  6) Instruction by three miracles (iddhi-pàtihàriya), marvel of psychic power (âdesanàpàtihàriya), marvel of mind-reading, and (anusàsani-pàtihàriya), or marvel of teaching; 7) Instruction by offering  Dhamma essence; 8) Instruction in new social order and ultimate reality;  9) Instruction for diplomacy; 10) Instruction by reform and revolution;  11) Instruction by giving a formal sermon; 12) Instruction by assimilation into the local culture; 13) Instruction by visiting; 14) Instruction by encouraging morality 15)  Instruction through progressive sermons; 16) Instruction through a leader of state approach; 17) Instruction through cooperation; 18) Instruction through an interpreter; 19) Support by state leaders or the king.    

Downloads

Published

2015-08-02

How to Cite

จำนิล พ., พลสารัมย์ ผ. ด., & อารีโสภณพิเชฐ อ. ด. (2015). การพัฒนารูปแบบและยุทธศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย. Journal of Education Studies, 43(2), 47–62. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/37789