ผลของการใช้กิจกรรมลดอคติตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษา ที่มีต่อเจตคติความเข้าใจในความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Authors

  • สุรไกร นันทบุรมย์ สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและ การสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10300
  • วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา ยา อาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10300

Keywords:

พหุวัฒธรรม, ลดอคติ, ความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม, ประชาคม อาเซียน, MULTICULTURE / PREJUDICE REDUCTION, DIVERSITY IN RACES, RELI GIONS AND CULTURES, ASEAN CO,

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในความหลากหลายทาง เชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนระหว่างก่อนสอนและหลังสอนโดยใช้กิจกรรมการ ลดอคติ 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความเข้าใจในความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และ วัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการลดอคติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศึกษานารี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1) แบบวัดเจตคติ ความเข้าใจในความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมในภูมิภาคอาเซียน 2) แบบ สัมภาษณ์ความเข้าใจในความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมในภูมิภาคอาเซียน และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การลดอคติตามแนวคิดพหุวัฒนธรรม ศึกษาจำนวน 13 แผน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t ความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์

ผลการวิจัยพบว่า 1) เจตคติความเข้าใจในความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ในประชาคมอาเซียนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การเปลี่ยนแปลง เจตคติเกิดจากการได้เรียนรู้เนื้อหาพื้นฐานเกี่ยวกับความแตกต่างหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม โดยมีทักษะทางสังคมมากขึ้น มีกระบวนการคิดและมีการเรียนรู้จากมุมมองของผู้อื่น จาก การจัดกิจกรรมการลดอคติโดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การอภิปรายกลุ่มย่อย การแสดงละคร การใช้บทบาทสมมติ การใช้สถานการณ์จำลอง การใช้กรณีตัวอย่าง และการเผชิญสถานการณ์

 

The purposes of this research were to compare the understanding of diversity in races, religions and culture in the ASEAN community of upper secondary school students before and after being taught by prejudice reduction activities and study how the understanding changes after being taught by prejudice reduction activities. The sample was upper secondary students in Suksanary School. The attitude test and interviewing questions were used as data instruments. Thirteen lesson plans 14 periods were used as the experimental instrument. The t-test, mean, standard deviation, frequencies and content analyzing were utilized for analyzing data.

The results were as follows: 1) After the treatment, the attitude scores posttest of understanding of diversity in races, religions and culture in the ASEAN community of students taught by prejudice reduction were higher than pretest scores at 0.05 level of significance. 2) Students changed their attitudes by learning contents which based on the diversity of races, religions and culture in the ASEAN community. Students gained their social skills, thinking skills and learning from others’ perspective through prejudice reduction activities which were cooperative activities, critical thinking activities, discussion, drama technique, role playing, simulation, case studies and facing with problems situation activities.

Downloads

How to Cite

นันทบุรมย์ ส., & อิศรางกูร ณ อยุธยา ว. (2015). ผลของการใช้กิจกรรมลดอคติตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษา ที่มีต่อเจตคติความเข้าใจในความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. Journal of Education Studies, 43(1), 139–154. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/32661